บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาโปรแกรมภาษาซี เรื่องโครงสร้างภาษาซีและการเขียนผังงานสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีวิทยา

Main Article Content

พิจิตรา ศิริวัฒน์
พรรณี ลีกิจวัฒนะ
บุญจันทร์ สีสันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาโปรแกรมภาษาซี เรื่อง โครงสร้างภาษาซีและการเขียนผังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีวิทยา ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมภาษาซี เรื่องโครงสร้างภาษาซีและการเขียนผังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับที่เรียนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีวิทยา ที่เรียนรายวิชาโปรแกรมภาษาซี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 3 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาโปรแกรมภาษาซี เรื่องโครงสร้างภาษาซีและการเขียนผังงาน 2) แบบประเมินคุณภาพของบทเรียน และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (t-test for independent group)


ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาโปรแกรมภาษาซี เรื่องโครงสร้างภาษาซีและการเขียนผังงาน มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X} =4.29, S=0.16) คุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X} =4.35, S=0.20) มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 93.46/83.38 และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาโปรแกรมภาษาซี เรื่องโครงสร้างภาษาซีและการเขียนผังงาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ศิริวัฒน์ พ., ลีกิจวัฒนะ พ., & สีสันต์ บ. (2016). บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาโปรแกรมภาษาซี เรื่องโครงสร้างภาษาซีและการเขียนผังงานสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีวิทยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(3), 138–144. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122769
บท
บทความวิจัย

References

[1] คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพฯ : สหมิตร.

[2] คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2553. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553.กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

[3] ณัฐกร สงคราม. 2553. การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[4] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สมเชาว์ เนตรประเสริฐ และสุดา สินสกุล. 2520. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[5] สำนักงานทดสอบทางการศึกษากรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2539. การประเมินผลการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

[6] พิเศศ ตันติมาลา. 2547. การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องหลักการออกแบบเว็บไซต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[7] นพดล จักรแก้ว. 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวนเรื่อง ภาษาซี วิชา การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น. 32-37.

[8] สยาม นามสน. 2557. การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเว็บกับการเรียนแบบปกติ เรื่องการสร้างเว็บเพจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.