ปัญหาในการใช้กระดานอัจฉริยะของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ชฎามาศ ศรีชนะวัฒน์
ไพฑูรย์ พิมดี
เลิศลักษณ์ กลิ่นหอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาในการใช้กระดานอัจฉริยะของครู จำแนกตามเพศ  อายุ ระดับการศึกษา และ ระดับชั้นการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนเซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา จำนวน 167 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามปัญหาในการใช้กระดานอัจฉริยะของครูแบ่งเป็น 2  ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม  ตอนที่ 2  เป็นแบบสอบถามปัญหาการใช้สื่อในการใช้กระดานอัจฉริยะของครู จำนวน 25 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80–1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบด้วยสถิติ t-test แบบ Independent Sample Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของ Scheffe’ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา มีปัญหาในการใช้กระดานอัจฉริยะ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

  2. ครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทราที่มีเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และระดับชั้นที่สอนต่างกัน มีปัญหาในการใช้กระดานอัจฉริยะไม่แตกต่างกันด้วยระดับความเชื่อมั่น 95%

Article Details

How to Cite
ศรีชนะวัฒน์ ช., พิมดี ไ., & กลิ่นหอม เ. (2015). ปัญหาในการใช้กระดานอัจฉริยะของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 559–567. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122525
บท
บทความวิจัย

References

[1] กิตติ อัมระนันทน์. 2535. สถานภาพการใช้สื่อการสอนของครูในโรงเรียน สังกัด กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาในส่วนภูมิภาค. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[2] โรงเรียนเซนต์หลุยส์และคณะ. 2550.คู่มือครู. กรุงเทพฯ: sunprinting.

[3] พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ และคณะ. 2543. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ:พิมพ์ดี

[4] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2554.วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[5] พล กันบุญ. 2540. สถานภาพการใช้สื่อการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สังกัดกรมสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[6] โนรียา เจ้าดูรี. 2547. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ของอาจารย์โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ในสถาบันราชภัฏ ภาคเหนือตอนบน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[7] นิวัตร เกษแก้ว พรรณี ลีกิจวัฒนะและ ไพฑูรย์ พิมดี. 2552. ปัญหาและความต้องการในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษาของครูโรงเรียนอัสสัมชัญ. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม, 9(1), น.185-193.