บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า เรื่อง อาเซียนศึกษา

Main Article Content

กมลรส กลีบพุฒ
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี
ธนินทร์ รัตนโอฬาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้ และไม่ใช้สิ่งช่วยจัด มโนทัศน์ล่วงหน้า เรื่อง อาเซียนศึกษา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้ และไม่ใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า เรื่อง อาเซียนศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชลประทานวิทยา จังหวัดนนทบุรี จำนวน 4 กลุ่ม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง โดยคละกลุ่ม ไม่เลือกห้องเก่งกว่าหรืออ่อนกว่า เวลาที่ใช้ในการทดลอง 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า เรื่อง อาเซียนศึกษา  2) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยไม่ใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า เรื่อง อาเซียนศึกษา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.30-0.80 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.20-0.50 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 4) แบบประเมินผลคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้ และไม่ใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า เรื่อง อาเซียนศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบ independent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85.78:89.14 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยไม่ใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 83.04:85.21 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า เรื่อง อาเซียนศึกษา สูงกว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยไม่ใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า เรื่อง อาเซียนศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
กลีบพุฒ ก., เพ็ชร์แสงศรี ศ., & รัตนโอฬาร ธ. (2015). บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ล่วงหน้า เรื่อง อาเซียนศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 404–411. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122413
บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. 2554. แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

[2] ณัฐกร สงคราม. 2553. การออกแบบและพัฒนา มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[3] Gagne’. R.M. (1997) The Conditions of Learning and theory of instruction. New York: Holt, Rinehart & winson

[4] วุฒิชัย ประสารสอย. 2543. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน:นวัตกรรมเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง.

[5] Joyce and Weil (1996) Models of Teaching. 5th ed. Englewood Cliffs : Prentice-Hall.

[6] เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. 2528. เทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[7] สิริวรรณ จันทร์งาม. 2548. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามรูปแบบการสอนโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติล่วงหน้า (advance organizer model) เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว. ปริญญานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[8] สิริวรรณ จันทร์งาม. 2548. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามรูปแบบการสอนโดยใช้สิ่งช่วยจัดมโนมติล่วงหน้า (advance organizer model) เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว. ปริญญานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[9] ทองดี พันขุนทด. 2557. การใช้รูปแบบการสอนแบบการนำเสนอมโนมติล่วงหน้าในบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม เรื่อง การใช้เครื่อง บรรจุหลอดอัตโนมัติ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,13(1) ,น.29-36.