การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง คำสั่งควบคุม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวนเรื่องคำสั่งควบคุมที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวนเรื่องคำสั่งควบคุมสำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรีซึ่งลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการเท็กซ์โหมด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่เคยเรียนผ่านมาแล้วจำนวน 2 ห้องเรียนรวม 75 คน ได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องคำสั่งควบคุมแบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.47-0.77 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.37 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์และสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง คำสั่งควบคุมมีคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก( = 4.73)เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (
= 4.73)และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก(
= 4.74)ประสิทธิภาพของบทเรียนมีประสิทธิภาพ*E1/E2*เท่ากับ 91.00/81.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดและนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวนเรื่องคำสั่งควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2544. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.ค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https://www.pratoochai.ac.th/wp-content/uploads/2014
[3] มนต์ชัย เทียนทอง. 2548. การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำรา เรียนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[4] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2554. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2521. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] สุมาลี จันทร์ชลอ. 2542. การวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
[7] อรญา จำเริญศรี. 2554. การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บเพื่อการทบทวน เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[8] สุจิตรา ศรีฮาด กาญจนา บุญภักดิ์และเลิศลักษณ์ กลิ่นหอม. 2556. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(1),น.42-48.
[9] เอกชัย ศิริเลิศพรรณนา ทนงศักดิ์ โสวจัสสตากุลและปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโมชั่นทวีน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(3), น. 38-46.
[10] ดิฐประพจน์ สุวรณศาสตร์. 2554. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่อง การวิเคราะห์และออกแบบ ฐานข้อมูล สำหรับนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โรงเรียนอรรถวิทย์พณิชยการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.
[11] รัตนศักดิ์ ฟักทอง. 2556. การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคิดของโรเบิร์ต การ์เย่ รายวิชาการเขียนโปรแกรคอมพิวเตอร์ เบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.