การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

วิไลวรรณ งามสุนทรเลิศ
ทนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล
ไพฑูรย์ พิมดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน เป็นจำนวน 49 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.22-0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.25-0.69 และมีค่าความเชื่อถือได้ (KR 20) เท่ากับ 0.91 และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และการทดสอบค่าที (t-test) ชนิดสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก มีคุณภาพด้านเนื้อหา และด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียอยู่ในระดับดี (  gif.latex?\bar{x}= 4.29, S = 0.31) มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.57/78.06 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.56, S = 0.60)

Article Details

How to Cite
งามสุนทรเลิศ ว., โสวจัสสตากุล ท., & พิมดี ไ. (2015). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 136–143. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122376
บท
บทความวิจัย

References

[1] สุกรี รอดโพธิ์ทอง และคณะ. 2544.ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

[2] ปรัชญนันท์ นิลสุข. 2555. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.

[3] 4Boyle, Tom. 1997. Design for Multimedia Learning. Here ford shire: Prentice Hall.

[4] ปกเกศ ชนะโยธา. 2551. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้บท เรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหา บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[5] สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. 2555. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาแห่ง ชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 เอกสารฉบับที่ 5. ชลบุรี: โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา. (เอกสารอัดสำเนา).

[6] ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. 2541. หลักการออกแบบและการสร้างคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนด้วยโปรแกรม (Multimedia toolbook). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[7] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550. การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้. ค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557, จาก https://nualphen22. blogspot.com/2010/06/blog-post.html

[8] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล ไพบูลย์ เกียรติโกมล และ เสกสรรค์ แย้มพินิจ. 2546. การออกแบบและ การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนสำหรับ e-learning. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

[9] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2537. ชุดการสอนระดับ ประถมศึกษาในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อ การสอนระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

[10] สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ. 2538. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

[11] สรรรัชต์ ห่อไพศาล. 2544. นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในสหัสวรรษใหม่: กรณีการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ. ศรีปทุมปริทัศน์, 1(2), น.93-104.

[12] นูรีซาน ดอเลาะ. 2551. ผลของการเรียนรู้จากบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนว ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม สำหรับนักเรียนโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

[13] เอกชัย ศิริเลิศพรรณนา ทนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล และปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโมชั่นทวีน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), น.38-46.

[14] อำไพ กำลังหาญ. 2545. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนแบบ คอนสตรัคติวิสต์กับวิธีการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (เคมี) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[15] อุบลลักษณ์ ไชยชนะ. 2543. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการเรียนกับ ความสอดคล้องในการเลือกคณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์การ ศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[16] Bloom, Benjamin S. 1976. Taxonomy of Education Objectives Handbook 1.New York: David Mc Kay Company Inc.

[17] อุมาวิชนีย์ อาจพรม. 2546. ผลการเรียนรู้จากห้องเรียนเสมือนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 3 ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.