การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึกตุ๊กตาไทย “ชุดไทยพระราชนิยม” ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ และส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

Main Article Content

ณปภัช เจริญผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของชุดไทยพระราชนิยม ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ (2) ศึกษาความต้องการและความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึก ตุ๊กตาไทย “ชุดไทยพระราชนิยม” (3) ออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึกตุ๊กตาไทย “ชุดไทยพระราชนิยม” ให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้ใช้สินค้า การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มผู้ผลิต จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ใช้สินค้า จำนวน 100 คน โดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย รวมทั้งสิ้น 125 คน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2  ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการซื้อสินค้าของที่ระลึกศูนย์ศิลปาชีพบางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึกตุ๊กตาไทย “ชุดไทยพระราชนิยม” ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์  สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ จัดลำดับ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป


ผลการศึกษาพบว่า (1)ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของชุดไทยพระราชนิยม ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2003 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเสด็จฯ เยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ได้ทรงคิดใช้ผ้าไทย มาประดิษฐ์ตกแต่งเป็นชุดฉลองพระองค์ เพื่อใช้สวมใส่ในงานพิธีหรืองานพระราชพิธีต่างๆประกอบด้วย ชุดสตรีไทย 8 ชุด ชุดสุภาพบุรุษ 3 ชุด รวม 11 ชุด  (2) ด้านความต้องการและความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึก ตุ๊กตาไทย “ชุดไทยพระราชนิยม” พบว่ารูปแบบตุ๊กตาไทยแบบที่ 2  มีความเป็นเอกลักษณ์ไทยมากที่สุด ร้อยละ 78 ท่าไหว้ ร้อยละ 92 ผ้าที่ใช้ ได้แก่ ผ้าไหม ร้อยละ 94  วัสดุประเภทวัสดุเทียม มีความสวยงาม ร้อยละ38 รูปแบบอุปกรณ์ติดตั้งตุ๊กตาที่เป็นแบบที่ 3  มีความโดดเด่น ร้อยละ 85 (3) การออกแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า ด้านภาพรวมของตุ๊กตาชาย–หญิงมีความสำคัญในระดับมากที่สุด gif.latex?(\bar{X}&space;=&space;4.89)ด้านชุดเครื่องแต่งกาย รูปแบบการตัดเย็บชุดเครื่องแต่งกายมีความสำคัญในระดับมากที่สุด gif.latex?(\bar{X}=4.53) และด้านอุปกรณ์ติดตั้งตุ๊กตา รูปแบบของอุปกรณ์ติดตั้งตุ๊กตาโดยรวม มีความสำคัญในระดับมากที่สุดgif.latex?(\bar{x}=4.89)

Article Details

How to Cite
เจริญผล ณ. (2015). การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึกตุ๊กตาไทย “ชุดไทยพระราชนิยม” ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ และส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 335–342. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122313
บท
บทความวิจัย

References

[1] สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. 2540. เล่ม13 จัดทำโดย โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรม ไทยสำหรับเยาวชน.

[2] วัฒนธรรมไทย ประเพณีและภูมิปัญญาไทย. 2555. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.kullawat.net/civic/2.2html (วันที่ค้นข้อมูล : 19 กันยายน 2556)

[3] ประวัติชุดไทยพระราชนิยม. 2555. [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก https://www.thaitopwedding.com (วันที่ค้นข้อมูล : 19 สิงหาคม 2556)
The history of the Royal Thai popular. 2012. [online] Available from : https://www.thaitopwedding.com [cited : 2013 Aug 19]

[4] มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. 2555. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org (วันที่ค้นข้อมูล : 19 สิงหาคม 2556)
Thai Appraisal Foundation to promote the arts and crafts in Her Majesty the Queen Sirikit Convention Center and the queen. 2012. [online] Available from: https://th.wikipedia.org [cited : 2013 Aug 19]

[5] วราพร อางนานนท์. 2552. รูปแบบและกลยุทธ์การประกอบการตุ๊กตาผ้า ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร
Arnanon,V. 2009.The format and the strategy to assemble the toy, Tambon Ban Singh PhotharamDistrict, Ratchaburi Province. Nakhon Pathom : Silpakorn University

[6] พวงผกา คุโรวาท. 2535. คู่มือประวัติเครื่องแต่งกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : รวมสาสน์.

[7] ปรานี สุทธิพงศ์. 2547. วัฒนธรรมการแต่งกายไทย ยุคโบราณ-ยุคปัจจุบัน. ร้อยรสบุปผาภัสตราภรณ์ กรุงเทพฯ : มูลนิธิส่งเสริม เศรษฐกิจชนบทและพัฒนาสิ่งแวดล้อม.

[8] ธเนศ ภิรมย์การ.2557. ศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), น.145- 152.
Piromkran, T. 2014. The study and develop the packaging, Pottery Koh Kret. Journal of Industrial Education, 13(1), p.145-152.