ชุดฝึกแมคคาทรอนิกส์เครื่องเจาะชิ้นงานอัตโนมัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเพื่อประเมินคุณภาพและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกแมคคาทรอนิกส์เครื่องเจาะชิ้นงานอัตโนมัติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก สำหรับชุดฝึกที่สร้างขึ้นหมายถึง ชุดฝึกแมคคาทรอนิกส์เครื่องเจาะชิ้นงานอัตโนมัติ จำนวน 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเจาะชิ้นงาน ใบทดลองงานและใบเฉลย จำนวน 8 ใบงาน สื่อเพาเวอร์พอยต์ การประเมินคุณภาพชุดฝึกเป็นการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านโครงสร้าง และด้านการใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประสิทธิภาพของชุดฝึกหรือ E1/E2 ผลการประเมินคุณภาพชองชุดฝึกแมคคาทรอนิกส์เครื่องเจาะชิ้นงานอัตโนมัติ พบว่าชุดฝึกที่สร้างขึ้นมีคุณภาพโดยรวม (=4.40, S.D. = 0.19) ด้านโครงสร้าง (
= 4.39, S.D. = 0.17 ) และด้านการใช้งาน (
= 4.42, S.D.= 0.21) จัดอยู่ในระดับดี ส่วนประสิทธิภาพของชุดฝึกแมคคาทรอนิกส์เครื่องเจาะชิ้นงานอัตโนมัติ มีค่าเท่ากับ 83.50/87.36 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์คือ E1/E2 เท่ากับ 80/80 และเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัยที่กำหนด
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์, สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2554. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก, กระทรวงศึกษาธิการ
[3] วัลลภ จันทร์ตระกูล. 2547. การพัฒนาชุดการสอนเรื่อง ไมโครคอนโทรเลอร์. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 4(2), น.36-43.
Juntrakool, W. 2004. The Development of Instructional Package on Microcontroller. Journal of Applied Science, 4(2), p. 36-43.
[4] อรพันธ์ ประสิทธิรัตน์. 2531. ยุทธวิธีการสอนวิชา เทคนิค.กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
[5] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2548. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[6] เปรมชัย คงตัน วิสุทธิ์ สุนทรกนกพงศ์และ พีระวุฒิ สุวรรณจันทร์.2555. ชุดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์ AVR ATMEGA.32. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,11 (2), น.113-137.
Kongton, P., Sunthonkanokpong, W., and Suwanjun, P. 2012. Microcontroller Trainning Set AVR ATMEGA. 32. Journal of Industrial Education, 1(2),p. 113-137.
[7] ชิตณรงค์ อักษรศรี ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงสีและฉันทนา วิริยเวชกุล. 2552. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องแรงและความดัน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 8 (1),น. 100-105.
Agsonsri, C., Pachsangsri, S., and Wereyawachchakool, C.2009.The Development of Computer Assisted Instruction Lesson in Power And Pressure. Journal of Industrial Education, 8(1), p. 100-105.