การพัฒนาต่อยอดต้นแบบแผงลอยอนามัยของอาหารโต้รุ่งในบริเวณเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประชาชนคนไทยมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเองและบุคคลภายในครอบครัวทำงานแข่งกับเวลาทำให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเปลี่ยนไป โดยหันมารับประทานอาหารริมบาทวิถีอาหารโต้รุ่งและอาหารจานด่วน ทั้งนี้เนื่องจากอาหารเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ง่าย สะดวก รวดเร็วประหยัดเวลา และสามารถรับประทานได้ทันที แต่อย่างไรก็ตามมาตรฐานความสะอาดด้านสุขอนามัยของแผงลอยหรือรถเข็นขายอาหารดังกล่าวจะต้องปรับปรุงอีกหลายประการ เนื่องจากอาหารที่ผลิตได้นั้นนำไปสู่การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์เป็นปัญหาต่อสุขภาพ ความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาต่อยอดในการออกแบบและสร้างต้นแบบแผงลอยหรือรถเข็นที่ถูกสุขอนามัยสำหรับขายอาหารโต้รุ่งในบริเวณเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ก่อนการพัฒนาได้สำรวจแผงลอย/รถเข็นขายอาหารโต้รุ่งเพื่อคัดกรองประเภทของอาหารโต้รุ่งเป็นที่นิยมรับประทานมากที่สุดและลำดับรองลงไป 4 ประเภท แล้วนำไปออกแบบและสร้างแผงลอยหรือรถเข็นดังกล่าว
จากการสำรวจพบว่า ประเภทของอาหารเป็นที่นิยมมากที่สุดเรียงลำดับรองลงไปคือ 1) อาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวมันไก่ 2) อาหารยำชนิดต่าง ๆ 3) อาหารทอด ปิ้งย่าง และ 4) ผลไม้ตัดแบ่ง แล้วดำเนินการออกแบบและสร้างต้นแบบของแผงลอย/รถเข็นอาหารโต้รุ่งทั้ง 4 ประเภทให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติพื้นฐานที่ดี 12 ข้อ ของร้านหรือแผงลอย/รถเข็นอาหาร ที่ขายตามบาทวิถีที่ถูกสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์ของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และคำนึงถึงปัจจัยที่สามารถผลิตอาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภค ต้นทุนต่ำ และลดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมด้วย จากการคำนวณต้นทุนการออกแบบและสร้างต้นแบบแผงลอยหรือรถเข็นรถขายอาหารดังกล่าวแล้ว คือ รถเข็นที่ขายก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวมันไก่ ราคาประมาณ 40,000 บาท รถเข็นที่ขายอาหารยำชนิดต่างๆ อาหารทอด ปิ้งย่าง และผลไม้ตัดแบ่ง ราคาประมาณ 33,000 บาท ซึ่งการสร้างรถเข็นเหล่านี้มีต้นทุนสูงกว่ารถเข็นที่ขายอาหารทั่ว ๆ ไปนั้น
เนื่องจากเป็นรถเข็นต้นแบบที่สร้างด้วยพื้นผิวการใช้งานเป็นสแตนเลส หลังคาเป็นแผ่นโพลีคาร์บอเนต ผนังเป็นบอร์ดที่แข็งแรงทนทาน และภายในตัวรถเข็นมีทั้งลิ้นชักอ่างล้าง พร้อมทั้งท่อระบายน้ำทิ้งตะแกรงปิดรอบตัวรถเพื่อป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ ได้ แต่ถ้าสร้างหรือผลิตรถเข็นดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ๆ แล้ว ต้นทุนจะต่ำกว่าราคาต้นแบบที่แจ้งไว้ดังกล่าวข้างต้น หลังจากได้ดำเนินการสร้างต้นแบบแผงลอย/รถเข็นขายอาหารโต้รุ่งดังกล่าวแล้ว ได้ทำการทดสอบการใช้งานจริงพร้อมประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค คือ นำไปตั้งขายอาหารประเภท ทอด ปิ้งย่างและผลไม้ตัดแบ่ง ณ โรงอาหารคณะครุ-ศาสตร์อุตสาหกรรม สจล. พบว่า ผลเป็นที่น่าพอใจต่อผู้บริโภค ร้อยละ 95.70
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ศูนย์ข้อมูลและเศรษฐกิจการคลังและการลงทุนของกรุงเทพมหานคร. 2557. ข้อมูลสถิติเขตลาดกระบัง. ค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://203.155.220.117:8080/BMAWWW/html_statistic/report_view.php?v_id=87
[3] สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. ม.ป.ป.ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับแผงลอยจำหน่ายอาหาร. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. ค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://foodsan.anamai.moph.go.th/main.php?filename=stand
[4] กัลยา วานิชย์บัญชา. 2550. การวิเคราะห์สถิติ :สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
[5] ศิริชัย กาญจนวาสี ดิเรก ศรีสุโข และทวีวัฒน์ ปิตยานนท์.2550. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. ม.ป.ป. คู่มืออาหารสะอาด รสชาติอร่อย. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. ค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559, จากhttps://foodsan.anamai.moph.go.th/download/D_Mediaคู่มืออาหารสะอาดรสชาดอร่อย57.pdf
[7] สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. 2557. ผลการดำเนินงานตามโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558, จากhttps://www.foodsanitation.bangkok.go.th/Foodsanitation/File/document/สรุปรายงานประจำปี โครงการกรุงเทพฯ ปี 57 _24-6- 58_.pdf
[8] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2556. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ.2556. ค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศิกายน 2556, จาก www.nso.go.th.