การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสำรวจโลกของงานในระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านน้อยจอมศรี จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

สุมิตร ขาวประภา
ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ
ปิยะพงษ์ ไสยโสภณ

บทคัดย่อ

โลกของงานมีความสัมพันธ์กับโลกมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความสำเร็จของการเข้าสู่งานหมายถึงความอยู่รอดของบุคคล ในเชิงอุดมคติแล้วบุคคลทุกวัยควรมีการเตรียมตัวที่ดีสำหรับอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาควรได้รับการจัดบรรยากาศที่เหมาะสม และกิจกรรมที่ส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อโลกของงานเพื่อโลกที่ดีกว่าในอนาคต การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสำรวจโลกของงานในโรงเรียนประถมศึกษา และนำกิจกรรมการเรียนรู้ไปดำเนินการกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6 จำนวน 40 คน โรงเรียนบ้านน้อยจอมศรี ปีการศึกษา 2557 ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ได้ปรับจากแนวคิดกระบวนการสำรวจอาชีพ ของมหาวิทยาลัยคอร์เนล และทฤษฎีคุณลักษณะองค์ประกอบ (Trait and Factor Theory) ของ Parsons กิจกรรมนี้มุ่งให้เกิดการพัฒนาใน 3 ด้านคือ


        1.ความรู้ที่เกี่ยวกับตนเอง


        2. ความรู้เกี่ยวกับอาชีพและคุณค่าของงาน


        3.ความตระหนักในโลกของงานผ่านกิจกรรมการบันทึกอนุทิน การอภิปราย และการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันของนักเรียนและครู ในกลุ่มผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ
         ผลการศึกษาพบว่า


         1) นักเรียนมีความกระตือรือร้นอย่างมีชีวิตชีวาในการซักถาม การตอบคำถามเกี่ยวกับความสามารถในการทำงานต่างๆ และมีความสนใจอย่างยิ่งในช่วงของความรู้ที่เกี่ยวกับตนเอง


         2) นักเรียนฟังอย่างตั้งใจ ซักถามและบันทึกระหว่างที่ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพให้ความรู้


         3) นักเรียนมีความตระหนักโดยการแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกความเห็นของนักเรียน

Article Details

How to Cite
ขาวประภา ส., โพธิสุวรรณ ช., & ไสยโสภณ ป. (2016). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสำรวจโลกของงานในระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านน้อยจอมศรี จังหวัดสกลนคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 28–36. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122253
บท
บทความวิจัย

References

[1] วิริยะ ฤาชัยพานิชย์. 2555. สาขาอาชีพแห่งอนาคต3. กรุงเทพฯ: ไอ เอดคูเอชั่นโซน.

[2] ธนัชพร มีหมัน. 2558. ความหมายและความสำคัญของอาชีพ. ค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558 จาก https://pattarapornt.weebly.com.

[3] จุฬาภรณ์ มาเสถียรวงศ์. 2557. Education for All สร้างสัมมาชีพเพื่อสังคมทั้งมวล. เอกสารประกอบ การประชุมวิชาการ อภิวัฒน์ การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

[4] ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. 2544. การศึกษาผู้ใหญ่ : ปรัชญาตะวันตกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[5] สุรินทร์ เสถียรสิริวัฒน์. 2556. ปรัชญาการศึกษากับการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 12(1), น.220-227.

[6] Pennsylvania Department of Education, 2013. Bereau of Career and Technical Education; Career Awareness in Elementary School. 333 Market Street, Harrisburg: USA. ค้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2556, จาก https://acrn.ovae.org/parents/documents/careerawareness-doe.pdf.

[7] Miller, B. 1977.Career and Vocational For small school: A Guide for Planning and Implementation. Prepared by Small Schools Career Education Developmental Project; Project Coordinator Howard W. Brock. Specialist Oregon Department of Education Instructional Division Career and Vocational Education Section.

[8] Sharf, S. 2002. Applying Career Development Theory to Counseling. (3rd ed.) Books/Cole 511 Forest Lodge Road Pacific Grove, CA 93950: USA.

[9] Hughes, M. 2012. Be Alert, Be Aware Careers Are Everywhere: Activity Workbook. Labor Market and Career Information, Texas Workforce Commission. ค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2557 จาก https://www.lmci.state.tx.us/shared/PDFs/CareerActivitiesBook.pdf.

[10] ปองพล อดิเรกสาร. 2558. DMC Forum.com ค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 จาก https://www.dmc.tv/forum/lofiversion/Index.php/.

[11] พี่เกียรติ. 2558. ทายอาชีพจากวิชาที่ชอบ. ค้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2558 จาก https://www.dek-d.com/admission/.

[12] สุโขทัยธรรมาธิราช. 2533. การแนะแนวในระดับประถมศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

[13] มติชน. 2558. ร.ร.สกลฯ จัดกิจกรรมช่วย น.ร.เรียนรู้อาชีพเสริมความฝัน. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันพุธที่ 17 เมษายน 2558 ปีที่ 38 ฉบับที่ 13550.