กระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับผู้ชายในห้างสรรพสินค้า ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานค

Main Article Content

ศิริวรรณ เหมือนส้ม
ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับผู้ชายในห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ  เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับผู้ชายในห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับผู้ชายในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับผู้ชายในห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับผู้ชายในห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยตัวแปรอิสระทั้ง 3 สามารถอธิบายความผันแปรของกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อ ได้ร้อยละ 63.1

Article Details

How to Cite
เหมือนส้ม ศ., ทองบริสุทธิ์ ช., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2015). กระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสำหรับผู้ชายในห้างสรรพสินค้า ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานค. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 10–15. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122180
บท
บทความวิจัย

References

[1] หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ (2550, 11 เมษายน). เครื่องสำอางหมื่นล้าน Q1 สะดุด [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. ค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557, จากhttps://www.siamturakij.com/home/news/print_news.php? news_id=2646

[2] ประไพภัทร คลังทรัพย์ และปิยนุช สนิ. 2555. เวชสำอางต่างจากเครื่องสำอางอย่างไร. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเภสัชกรรมและ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

[3] Dewey, J 1910. How we think. [Online]. Available: https://www.brocku.ca/MeadProject/Dewey/Dewey_1910a/Dewey_1910_toc.html (2009, March 18).

[4] Kotler.P 2000. Marketing Management. Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.

[5] สิรินนภา จิณณากูลสิทธิ์. 2552. การสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางไทยของผู้หญิงใน กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

[6] วรทัย ปรีดาศักดิ์ จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทรและอตินุช กาญจนพิบูลย์. 2552. พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อปัจจัยทางการตลาดของ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 8(1), น.198-208.

[7] พรรณกมล เผ่าไทย. 2544. การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

[8] จิรนันท์ โอฬารรังสีกุล. 2553.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.