การปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการ DMAIC
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการ DMAIC 2) ศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน และ 3) ศึกษาปัจจัยเอื้อและปัญหาอุปสรรคในการใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กรณีศึกษาในโรงเรียนมัธยม ซึ่งการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน และระยะที่ 2 การนำกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนไปใช้ โดยใช้เวลาในการนำกระบวนการไปใช้ 16 สัปดาห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนของกระบวนการ 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา ขั้นที่ 2 การวัดขนาดของปัญหา ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นที่ 4 การเลือกและการทดลองใช้วิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 การปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา และขั้นที่ 6 การควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาเดิมอีก 2) ครูสามารถดำเนินการตามกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้ทุกขั้นตอน โดยทีมมาจากครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เลือกแก้ไขปัญหาหนึ่งปัญหา คือนักเรียนขาดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สาเหตุหลักของปัญหาคือการขาดการเตรียมการสอนและการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิธีการแก้ปัญหาคือการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยมีการนิเทศ และการทำบันทึกหลังการเรียนการสอนเพื่อนำมาปรับปรุงการสอน นักเรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการใช้กระบวนการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนการใช้กระบวนการเรียนการสอน 3) ปัจจัยเอื้อต่อการใช้กระบวนการ คือ (1) ผู้บริหารของโรงเรียนให้การสนับสนุน (2) การวางแผนและติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง (3) การบริหารโครงการที่ยืดหยุ่น (4) การบริหารโครงการแบบมีส่วนร่วม (5) แรงจูงใจของครูผู้ร่วมโครงการ และ (6) ความร่วมมือของครูผู้ร่วมโครงการ ส่วนปัญหาอุปสรรคต่อการใช้กระบวนการ คือ (1) หัวหน้าโครงการขาดอำนาจในการสั่งการและการเจรจาต่อรอง (2) เป็นโครงการใหม่ที่เริ่มทำครั้งแรก (3) ข้อจำกัดในด้านบริบท/วัฒนธรรมการทำงานของครู (4) ขาดการให้ความร่วมมือของครูผู้ร่วมโครงการ (5) กิจกรรมจำนวนมากของโรงเรียน (6) การขาดความรู้และทักษะของครู
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546. บทสรุปสำหรับผู้บริหารการศึกษา การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในโรงเรียนนำร่องการใช้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553, จาก https://www.ipst.ac.th/research/resuit46-25.shtml
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. 2003. The Executive Summary: The Preparation of the Mathematics Curriculum in School Pilot Curriculum for Basic Education. Retrieved May 15, 2010, from https://www.ipst.ac.th/research/resuit46-25.shtml
[3] ระพิน ฉายวิมลและคณะ. 2549. การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 17(2), น. 105-118.
Chayvimol, R., et al. 2006. The Current Instructional Practices and Problems of Providing Instruction of Instructors at Burapha University. Journal of Education, 17(2), 4p. 105-118.
[4] เสกสรร ทองศรี จรินทร์ ธานีรัตน์ และรัตนะ บัวสนธ์. 2557. การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสาร ครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), น. 26-33.
Thongsri, S., Thaneerat, J., and Bausont, R. 2014. Development the Education Quality Administration Model for Schools under the Primary Educational Service Area Office. Journal of Industrial Education, 13(2), p. 26-33.
[5] Kyriakides, L., Combell, R., and Christofidou, E. 2002. Generating Criteria for Measuring Teacher Effectiveness Through a Self-Evaluation Approach: A Complementary Way of Measuring Teacher Effectiveness. School effectiveness and school improvement, 13(3), p. 291-325.
[6] สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2557. ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2555 บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิง นโยบาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
[7] โครงการ PISA ประเทศไทย. 2556. ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
[8] Mehrotra, D. 2007. “Six Sigma in Education”. Retrieved June 16, 2011, from https://www.isixsigma.com/library/content/c011029a.asp.
[9] Sallis, E. 2002. Total Quality Management in Education 3rd ed. London: Kogan Page.
[10] เพนดิ, พี. และ โฮล์ป, แอล. 2545. Six Sigma กลยุทธการสร้างผลกำไรขององค์กรระดับโลก. แปลโดย วิทยา สุหฤทดำรง และ ก้องเดชา บ้านมะหิงษ์. กรุงเทพฯ: ท็อป.
[11] กันยรัตน์ คมวัชระ. 2547. การนำ Six Sigma มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา. วารสารประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,5(1), น. 20-34.
Komwachara, K. 2004. Applying Six Sigma in Educational Quality Improvement. Khon Kaen University Quality Assurance Journal, 5(1), p. 20-34.
[12] Breyfogle, F.W. 1999. Implementing Six Sigma: Smarter Solutions Using Statistical Methods. New York: Wiley.