กระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นิธินพ ทองวาสนาส่ง
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล
วรนารถ แสงมณี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและ (2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก


2) ส่วนประสมทางการตลาดทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาดมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยตัวแปรอิสระสามารถอธิบายความผันแปรของกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ได้ร้อยละ 68.10

Article Details

How to Cite
ทองวาสนาส่ง น., โรจน์นิรุตติกุล ณ., & แสงมณี ว. (2015). กระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 10–16. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/119711
บท
บทความวิจัย

References

[1] ผู้จัดการออนไลน์. 2555. บุกตลาดเส้นผม. ค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2556 จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000051978

[2] ทวีศักด์ จั่นแจ่ม. (2556, 7 เมษายน). มูลค่าตลาดค้าปลีกสมัยใหม่. มองโลกแข่งขัน. 1(7), น. 1-2.

[3] กมลวัฒน์ ธรรมรักษา. 2553. คุณค่าตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร (IMC) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาเปลี่ยนสีผมในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

[4] ศุภร เสรีรัตน์. 2540. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า

[5] Kotler P. 2012. Marketing Management. Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.

[6] วรทัย ปรีดาศักดิ์.2551. พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อปัจจัยทางการตลาดของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 8(1), น.198-208

[7] นรากร สุรเมธางกูร. 2545. ความพึงพอใจของสุภาพสตรีในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผม. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

[8] จิรนันท์ โอฬารรังสีกุล.2553. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ