ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Main Article Content

มานพ ชาชิโย
วาสนา ชาชิโย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังเรียน และศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่เรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้และเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 9 คน และนักศึกษา จำนวน 28 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคุณภาพในระดับดี (equation = 4.16, SD = 0.72) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชนิดของข้อมูลแบบต่าง ๆ มีคุณภาพระดับดี (equation = 4.21, SD = 0.66) รองลงมาคือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันต่าง ๆ มีคุณภาพระดับดี (equation = 4.20, SD = 0.78) และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การใช้แฟ้มข้อมูล มีคุณภาพระดับดี (equation = 4.15, SD = 0.71) ตามลำดับ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 รูปแบบไวยากรณ์ประกอบภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับคำสั่งอุปกรณ์อินพุต-เอาต์พุต มีคุณภาพน้อยที่สุด (equation = 4.08, SD = 0.72) 2) ผลคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาที่เรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 16 คน (ร้อยละ 57) และอยู่ในระดับดี จำนวน 12 คน (ร้อยละ 43)

Article Details

How to Cite
ชาชิโย ม., & ชาชิโย ว. (2024). ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 23(3), 97–106. https://doi.org/10.55003/JIE.23311
บท
บทความวิจัย

References

Barrows, H. S. (1986). A taxonomy of problem‐based learning methods. Medical Education, 20(6), 481-486.

Inchan, R. (2022). Designing teaching and learning activities by employing Project-Based Learning (PBL) to develop learning achievement in career subjects in high schools in Chiang rai. Journal of the Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University. 41(2), 73-85. (in Thai)

Khaemmanee, T. (2013). Pedagogical science: Knowledge for an effective learning process (17th ed.). Chulalongkorn University press. (in Thai)

Khlaisang, J., & Koraneekij, P. (2019). Open online assessment management system platform and instrument to enhance the information, media, and ICT literacy skills of 21st century learners. International Journal of Emerging Technologies in Learning, 14(7), 111-127. (in Thai)

Lerdkhampom, T., & Duangwilai, D. (2024). The development of critical thinking ability and teamwork and collaboration competence using the problem-based learning with the simulation based learning for Grade 9 students. Dhammathas Academic Journal, 24(3), 147-160. (in Thai)

Liu, Y., & Pásztor, A. (2022). Effects of problem-based learning instructional intervention on critical thinking in higher education: A meta-analysis. Thinking Skills and Creativity, 45, 1-21.

Looi, H. C., Seyal, A. H., & Darussalam, B. (2014). Problem-based learning: An analysis of its application to the teaching of programming. International Proceedings of Economics Development and Research, 70(14), 68-75.

Luangnuan, S., & Lapanachokdee, W. (2020). Assessment approach in critical thinking skill by integrating problem base learning in social studies for Mathayom Suksa 3. Phuket Rajabhat University Academic Journal Volume 16(2), 58-76. (in Thai)

Nurkhin, A., & Pramusinto, H. (2020). Problem-based learning strategy: Its impact on students' critical and creative thinking skills. European Journal of Educational Research, 9(3), 1141-1150.

Ploysangwal, W. (2018). An assessment of critical thinking skills of Thai undergraduate students in private Thai Universities in Bangkok through an analytical and critical reading test. University of the Thai Chamber of Commerce Journal Humanities and Social Sciences, 38(3), 75-91. (in Thai)

Prommanon, N., & Art-in, S. (2022). The development of mathematical problem solving and critical thinking abilities using problem based learning with graphic organizers technique for Grade 7 students. Journal of Roi Et Rajabhat University, 16(3), 51-63. (in Thai)

Sirikitsathian, C. (2020). Effect of problem based learning to enhance learning outcomes on sufficiency economy subject. Phikun Journal, 18(2), 187-202. (in Thai)

Suwannoi, P. (2016). Problem-based Learning: PBL. https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf

Thampi, K. P. P. S., Ponathong, C., & Yongsorn, C. (2024). Critical thinking skills and dispositions: Perceptions of higher education students in Thailand. Journal of Education and Innovation, 26(3), 153-167. (in Thai)

Ulger, K. (2018). The effect of problem-based learning on the creative thinking and critical thinking disposition of students in visual arts education. Interdisciplinary Journal of Problem-Based Learning, 12(1), 1-19.

Wade, C. (1995). Using writing to develop and assess critical thinking. Teaching of Psychology, 22(1), 24-28.