ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับ เทคนิค Think Talk Write ที่มีต่อมโนทัศน์และทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ชลธาร ผ่องแผ้ว
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
คมสัน ตรีไพบูลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบแผนการศึกษาค้นคว้าแบบวิจัยเชิงกึ่งทดลองที่มีการวัดผลหลังทดลองครั้งเดียว ซึ่งเป็นแบบแผน การวิจัยที่สุ่มกลุ่มตัวอย่างมากลุ่มเดียวให้เป็นกลุ่มทดลอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค Think Talk Write ทดสอบเพื่อหาค่าคะแนนเฉลี่ย แล้วนำมาทดสอบสมมติฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง วงกลม จำนวน 6 แผน มีค่าความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้เฉลี่ยเท่ากับ 4.76 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35 แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์  เรื่อง วงกลม เป็นแบบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ ซึ่งมีดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80–1.00 มีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.40–0.67 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.33–0.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 แบบประเมินทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูด เป็นแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 4 ข้อ ซึ่งมีดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกข้อและแบบวัดทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน เรื่อง วงกลม เป็นแบบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ ซึ่งมีดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80–1.00 มีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.43–0.73 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.30–0.53 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างเดียว (t-test for one sample) ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับ เทคนิค Think Talk Write มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วงกลม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับ เทคนิคคิด พูด เขียน มีทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วงกลม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ผ่องแผ้ว ช., อังกนะภัทรขจร เ. ., & ตรีไพบูลย์ ค. . (2022). ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับ เทคนิค Think Talk Write ที่มีต่อมโนทัศน์และทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(2), 22–32. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/247938
บท
บทความวิจัย

References

Adriani, M. (2008). Dunia Matematika. http://www.thinktalkwrite.2008.html

Chamnankit, B. (2006). Why is it necessary to manage curiosity in higher education. Knowledge Management Nakhon Sawan Rajabhat University, 1(1), 1-7. (in Thai)

Dechakupt, P., & Yindeesuk, P. (2017). teach children to do projects teaching teachers to do research class action Guidelines for creating Thai people 4.0. Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Dila, D. O. (2012). Think talk write strategies. http://syahputri90dila.blogspot.com /2012/01/metode-pembelajaran-bahasa-inggris_12.html

Essay Sauce. (2019). Understanding of circles and circle theorems in geometry. https://www.essaysauce. com/science-essays/understanding-of-circles-and-circle-theorems-in-geometry/

Hazzan, O., Lapidot, T., & Ragonis, N. (2011). Guide to teaching computer science. Springer-Verlag.

Hidayati, R., Fauzan, A., & Hakim, R. (2019). Implementation of Think Talk Write (TTW) strategy to improve understanding of concept and communication of mathematics. In W. Striełkowski (Ed.), Advances in Social Science, Education and Humanities Research. 1st

International Conference on Innovation in Education (ICoIE 2018) (pp. 53-56). Atlantis Press.

Huinker, D., & Laughlin, C. (1996). Talk you way into writing. In P. C. Elliot & M. J. Kenney (Eds.), Years book 1996. Communication in mathematics, K-12 and beyond (pp. 81-88). NCTM.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2012). Mathematical skills and processes (3rd ed). 3-Q Media. (in Thai)

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2020). About PISA. https://pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/

Jongkesakorn, C., & Manoruang, P. (2019). Developing learning activities in the form of active learning for new generation learners according to the policy to reduce study time, increase learning time. https://anyflip.com/phlpt/bzga/basic

Makanong, A. (2010). Mathematical skills and processes: Development for development. Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Makanong, A. (2014). Mathematics for middle school teachers. Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Mayakusuma. (2012). Pengertian dan Sintakas Model pembelajaran TTW. n.p.

National Institute of Educational Testing Service (NIETS). (2020). Ordinary national education test report. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx

Phiromrat, S. (2012). Effects of using think-talk-write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model on mathematical reasoning and communication abilities [Master’s thesis]. Chulalongkorn University. (in Thai)

Pinla, W., & Pinla, W. (2018). Management of social studies in the 21st century. Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Pruttikul, S. (2012). Quality of students derived from active learning process. Administrative Journal Burapha University Education, 6(2), 1-13. (in Thai)

Srinok, W. (2018). The effects of organizing learning actives using concept attainment model and active learning on mathematical concepts and reasoning ability of Mathayomsuksa IV Students [Master’s thesis]. Burapha University. (in Thai)

Thongnuan, P. (2011). The effect of organizing active learning emphasized representation on mathematical achievement, reasoning, and communication abilities in relations and functions of Mathayomsuksa IV Students. [Master’s thesis]. Srinakharinwirot University. (in Thai)

Wiwattananon, S. (2007). Reading, analytical and writing skills. C.C.knowledge linksPress. (in Thai)