การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนคลาวด์เลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และประเมินรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนคลาวด์เลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอน ด้านการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านคลาวด์เลิร์นนิง จำนวน 9 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ร่างกรอบแนวคิด และสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอน 3) สร้างเครื่องมือประเมินรูปแบบการเรียนการสอน 4) กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 5) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก 6) สรุปผล และวิเคราะห์ข้อมูล 7) ปรับปรุงแก้ไข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันฯ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนคลาวด์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผู้สอน ผู้เรียน และคลาวด์เลิร์นนิง 2) กระบวนการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การเตรียมการเรียนการสอน การเรียนรู้ร่วมกัน และการประเมินผลการเรียน และ 3) ผลผลิต ได้แก่ ผลงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ปัญญาเป็นฐานบนคลาวด์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.52) ซึ่งมีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานจริง
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Worakamin, D. ,Rakamnuaykit, P. and sayfa, Y. 2016. A study of analytical thinking ability and public mind in order to develop the potential of being good people and smart students of Thai students. Bangkok, Dhurakij Pundit University.
Sittichok, T. 2015. Critical Thinking in Social Studies Learning Process. Journal of Humanities, Social Sciences Thaksin University, 9(2), pp. 87-101.
Sudsang, W. 2007. Analytical thinking certainly has value and creativity. Bangkok : Chomromdek.
Wei, G. W. 2012. The use of wiki to facilitate critical thinking, Proceeding of IEEE International Conference on Teaching, Assessment, and Learning for Engineering (TALE), H3C-1 – H3C-3.
Haghparast, M., Hanum, N. F., and Abdullah, N. 2013. Modeling an e-learning tool to cultivate critical thinking in students based on information needs and seeking behavior, Proceeding of 2013 IEEE International Conference on Teaching, Assessment and Learning for Engineering (TALE), pp. 521-526.
Eteokleous, N., and Ktoridou, D. 2012. Community of inquiry developed through cloud computing for MIS courses, Proceeding of 2012 IEEE Global Engineering Education Conference (EDUCON), pp. 1-4.
Alshuwaier, F.A., Alshuwaier, A.A., and Areshey, A.M. 2012. Applications of cloud computing in education, in Proceeding of the 8th International Conference on Computing and Networking Technology (ICCNT), pp. 26-33.
Ennis, R. H. 1993. Critical Thinking Assessment. Theory into practice, 32(3), pp. 179-186.
Ennis, R.H. and Millman, J. 1985.Cornell Critical Thinking Test Level Z. Pacific Grove, CA: Midwest Publications.
Eteokleous, N. and Eteokleous, D. 2012. Community of inquiry developed through cloud computing for MIS courses. Proceeding of 2012 IEEE Global Engineering Education Conference (EDUCON), pp. 1-4.
Wannapiroon, P. 2008. Development of A Problem-Based Blended Learning Model to Develop Undergraduate Students' Critical Thinking. Chalalongkorn University, Bangkok.
Jaidee, M. and Sanrach, C. 2013. The Development of a Model for Problem-based Learning Cooperates with KWL Plus Technique using Scaffoldings System to Develop Critical Thinking. KKU Research Journal Humanities and Social Sciences, 1 (2), pp. 1-13.