การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เรื่อง แบบจำลองกระบวนการ วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เรื่อง แบบจำลองกระบวนการ วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เรื่อง แบบจำลองกระบวนการ วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 หาประสิทธิภาพบทเรียน จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบบประเมินบทเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.39-0.69 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30-0.60 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 ผลการวิจัยพบว่า
1) บทเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีคุณภาพโดยภาพรวม อยู่ในระดับดี ( x̄ =4.48, S.D.=0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก ( x̄ =4.53, S.D.=0.58) และมีคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับดี ( x̄ =4.43, S.D.=0.62)
2) บทเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.33/86.67
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแบบจำลองกระบวนการ ของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Thanomporn L.2006. Designing E-leaning. ChiangMai : ChiangMai University.
[3] Kengthong C.2016.Handout Story Instructional Media. Retrieved November 28 2016, from https:// www.stjohn.ac.th/ polytechnic/rbm /file_ar/54016.pdf.
[4] Jitstaporn S. 2002. A study on computer network learning interaction model according to type of assignment given to undergraduate students with different learning styles and personalities. . Bachelor thesis Ph.D. Technology and Communication Studies. Chulalongkorn University.
[5] Tianthong M.2005. Design and development of courseware for computer assisted instruction. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok Printing House.
[6] Keawkiriya T.Moving from E-Learning to M-Learning in the society Seamless communication. Rom Phruek Journal, 28(1), P.39-48
[7] Leegitwattana P.2011.Reaearch methods in education. Bangkok: King Mongkut's University of Technology Ladkrabang.
[8] Brahmawong C.1988.Instruction Media System. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
[9] Chanchalor S.1999. Measurement and Evaluation. Bangkok: Support Center of Bangkok.
[10] Chamroensri O. 2011. Development of web-based instruction for review on components of computer system for Matthayomsuksa I students. M.S.Thesis King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang Bangkok.
[11] Sirilertpunana, A. Sowajussata, T. & Tungkunanun, P. 2013. Development of web-based instruction for review on moving by motion tween. Journal of Industrial Education, 12(3), p. 38-46.
[12] Srihad, S. Boonyasak, K. & Grinhom, L. 2013. A development of computer-assisted instruction via internet on computer system for Aksorn Institute of Technology Pattaya. Journal of Industrial Education, 12(1), p.42-48.
[13] Kasemsriwittaya,T. Littikert, A. & Viriyawethkul, C. 2014. E-Learning for review on basic programming for microcontroller peripheral interface controller. Journal of Industrial Education, 13(2), p. 153-158.
[14] Suwanasart D.2013. Development of web-based instruction for review on Database Analysis and design for high certificate level students in Attawit Commercial College. M.S.Thesis King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang Bangkok.