การวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของตัวชี้วัดตัวแปรคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอาชีวศึกษา

Main Article Content

ปริญญา มีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของตัวชี้วัดตัวแปรคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอาชีวศึกษา ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เขตภาคกลาง 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 540 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองทั้งหมด ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 25 ข้อ เพื่อวัดตัวแปรที่คัดสรรสำหรับการวิจัยครั้งนี้จำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรทัศนคติของผู้เรียน ตัวแปรเศรษฐสถานะของครอบครัว ตัวแปรการให้ความสำคัญกับการศึกษาของบิดามารดา ตัวแปรการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา และตัวแปรสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา มีคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยง (reliability) เท่ากับ 0.731 0.735 0.731 0.828 และ 0.616 ตามลำดับ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis: CFA) ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรทุกตัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก และตัวชี้วัดตัวแปรทุกตัวมีความตรงเชิงโครงสร้าง สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี ผลการวิเคราะห์เรียงตามลำดับตัวแปรได้ดังนี้ โมเดลตัวแปรทัศนคติของผู้เรียนมีค่า gif.latex?\chi^{2} = 5.85, df = 5, p-value = 0.321, RMSEA = 0.019, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, RMR = 0.019, NFI = 0.99 โมเดลตัวแปรเศรษฐสถานะของครอบครัวมีค่า gif.latex?\chi^{2} = 6.52, df = 5, p-value = 0.258, RMSEA = 0.025, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.027, NFI = 0.99 โมเดลตัวแปรการให้ความสำคัญกับการศึกษาของบิดามารดามีค่าgif.latex?\chi^{2}= 7.72, df = 5, p-value = 0.172, RMSEA = 0.034, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.018, NFI = 0.99 โมเดลตัวแปรการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษามีค่า gif.latex?\chi^{2}= 3.36, df = 5, p-value = 0.645, RMSEA = 0.000, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, RMR = 0.011, NFI = 1.00 และโมเดลตัวแปรสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า gif.latex?\chi^{2}= 6.57, df = 5, p-value = 0.254, RMSEA = 0.026, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.017, NFI = 1.00

Article Details

How to Cite
มีสุข ป. (2016). การวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของตัวชี้วัดตัวแปรคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 86–93. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122428
บท
บทความวิจัย

References

[1] ปริญญา มีสุข. 2558. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษา: ความท้าทายภายใต้ทักษะวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2). น. 734-741.
Meesuk, P. 2015. Research to develop vocational education: A challenge of vocational skills. Journal of Industrial Education, 14(2), p. 734-741.

[2] ญาณภัทร สีหะมงคล. 2558. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตอาสาของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2). น. 479-486.
Seehamongkon, Y. 2016. The causal factors influencing volunteer spirit of vocational students under the office of vocational education commission. Journal of Industrial Education, 14(2), p. 479-486.

[3] จรัญ ยินยอม. 2552. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกกลางคันของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Yinyom, J. 2009. A study of the students’ drop out factors in Phranakhon-Si-Ayutthaya rajabhat university. Mater of Arts in Socail Science for Development, Phranakhon-Si-Ayutthaya Rajabhat University.

[4] จำเนียร สุมาริธรรม. 2550. การศึกษาสาเหตุการออกกลางคันของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์.
Sumaridhum, J. 2007. The cause of dropout students in vocational education level, under the vocational education commission of Roi-et. Master of Educational Administration, Surindra Rajabhat University.

[5] รุ่งโรจน์ อาริยะ. 2552. บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในการลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนวิทยาลัยการอาชีพเชียงคำ จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Ariya. R. 2009. Advisory Teachers' Roles in Solving Students' Drop-out in Chiangkham Industrial and Community Educational College, Phayao Province. Master of Educational Administration, Chiangrai Rajabhat University.

[6] ปริญญา มีสุข. 2559. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษาเขตภาคกลาง 1. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Meesuk, P. 2016. Causal relationship model of students’ dropout of Central Vocational Education Institute Area 1. Pathumthani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

[7] นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2542. โมเดลริสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย