ปัจจัยความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ภัทรพล หงษ์สูง
Olan Karnchanakas
Arom Chindapan

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2)ศึกษาประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ3)สร้างรูปแบบปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรในการวิจัยได้แก่ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาและสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 เขต ปีการศึกษา 2557 จำนวน 837 โรงเรียน ประกอบด้วยครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 9,923 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอนได้แก่ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาจำนวน 385 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์ความผันแปร ค่าความเบ้ค่าความโด่งและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) วิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่พฤติกรรมของผู้บริหาร การประกันคุณภาพการศึกษาพฤติกรรมของครู และการพัฒนานวัตกรรม ในภาพรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 2 ประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ความพึงพอใจในการทำงานของครู ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนความรับผิดชอบของนักเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลการวิจัยพบว่าในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3)รูปแบบปัจจัยความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า อิทธิพลโดยรวมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาคือ พฤติกรรมของครู และ การประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งสองปัจจัยเป็นอิทธิพลทางบวกที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.46 และ 0.44 ตามลำดับ ซึ่งแสดงว่าพฤติกรรมของครูส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษามากกว่า การประกันคุณภาพการศึกษา อิทธิพลโดยรวมของพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.72 ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.97 ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.79 ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.77 พฤติกรรมของผู้บริหารส่งผลทางอ้อมต่อการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.22 ส่งผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมของครู เท่ากับ 2.70 ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.79

Article Details

How to Cite
หงษ์สูง ภ., Karnchanakas, O., & Chindapan, A. (2016). ปัจจัยความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 226–234. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122289
บท
บทความวิจัย

References

[1] Kriengsak Charoenwongsak. (2000). National Brain Storming: Educational Reform Strategies. Bangkok: Success Media.

[2] Panom Pongpaiboon . (1999). “What is Basic Education 12 Years. Academic Journal, 2(2),46-50

[3] Hoy, W.K., &Miskel, C. G. (1991). Educational administration: Theory research and Practice. (4 nd ed.). Singapore:McGraw-Hill.

[4] Halpin A.W. and Winner, B.J. (1957). “A factorial study of the leader behavior descriptions”. Columbus, OH: Bercau of Business Research, Ohio State University.

[5] Hall,G. et al. (1984,February). Effects of three principal styles on school improvement. Educational Leadership, 41(5), 22-29.

[6] Carnall Collin A. (1990). Management Change in Organization. New York: Prentice Hall.

[7] Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

[8] Dejkunchorn, D., Prasertsri, N., Thiengkamol Khoowaranyoo, T. (2014). Development Model of School Landscape Management for Environmental Conservation. Journal of Industrial Education, 13 (3), 157-164.

[9] Sammonds, J. Hillman, and P. Mortimore. (1995). Key characteristics of effective schools a review of school effectiveness research. A report by the institute of education for the office for standards in education, 8.

[10] Kitima Preedidiloak, (1976). Organizational Management Theory. Bangkok Thana Printing.110

[11] Pongsak Thongpunchang. (2010). causal structural relationship model on transformational leadership of president affecting to effectiveness of Rajabhat University. A doctoral research in Educational Administration, Graduate School, Burapha University.