การเปรียบเทียบผลการทดลองทางสมรรถนะเชิงความร้อนระหว่างการใช้หลังคาปล่องรังสีอาทิตย์ร่วมกับพัดลมกระแสตรงกับหลังคากังหันระบายอากาศภายใต้สภาวะอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ทำการทดสอบเปรียบเทียบสมรรถนะเชิงความร้อนและการลดภาระความร้อนระหว่างหลังคาปล่องรังสีอาทิตย์ร่วมกับพัดลมกระแสตรง (SRC with DC fan) กับหลังคากังหันระบายอากาศ (RTV) และหลังคาทั่วไป (SRC) โดยติดตั้งอยู่บนหลังคาหันไปทางด้านทิศใต้ของบ้านจำลองขนาดเล็กทั้งสามหลังที่มีปริมาตรเท่ากับ 1.95 m3 เพื่อทดสอบและเปรียบเทียบสมรรถนะของบ้านจำลองที่ติดตั้งหลังคาปล่อง SRC with DC fan กับหลังคา RTV และหลังคาทั่วไป ทดสอบภายใต้สภาวะอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย ผลการศึกษาทดสอบพบว่าห้องของบ้านจำลองที่ติดตั้งปล่องหลังคา SRC with DC fan และหลังคา RTV จะมีอุณหภูมิอากาศภายในต่ำกว่าห้องของบ้านจำลองที่ติดตั้งหลังคาทั่วไป (SRC) และสิ่งแวดล้อมของบ้านประมาณ 0.2–4.5 °C และสามารถเพิ่มการระบายอากาศภายในห้องทำให้มีอากาศไหลเวียนที่ความเร็วประมาณ 0.022–0.67 m/s และสามารถลดค่าความร้อนจากห้องใต้หลังคาได้ดีกว่าห้องของบ้านที่ติดตั้งหลังคาทั่วไปประมาณร้อยละ 2.5–96 สุดท้ายนี้ระบบปล่องหลังคา SRC with DC fan และหลังคา RTV ประหยัดพลังงานและส่งเสริมพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ รักษาสิ่งแวดล้อม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
เอกสารอ้างอิง
ศรัณยา ศรีพิสุทธิธรรม ติกะ บุนนาค และปรีดา จันทวงษ์ “การศึกษาทดสอบสมรรถนะทางความร้อนของปล่องหลังคาเซลล์แสงอาทิตย์ระบายอากาศร่วมกับสารวัสดุเปลี่ยนแปลง” วารสารเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 หน้าที่ 11–21.
Chirarattananon, S. et al, “Daylight availability and models for global and diffuse horizontal illuminance and irradiance for Bangkok,” Journal of Renewable Energy, vol. 26, pp. 69–89, 2002.
ปรีดา จันทวงษ์ และคณะ “การศึกษาสมรรถนะเชิงความร้อนของปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในสภาวะอากาศแบบร้อนและชื้น” วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 ก.ย.–ธ.ค. 2554 หน้าที่ 559–568.
โยธิน อึงกุล ปรีดา จันทวงษ์ และคณะ “การศึกษาทดสอบสมรรถนะของหลังคากังหันระบายอากาศแบบธรรมชาติภายใต้สภาวะอากาศของกรุงเทพมหานคร” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม–มีนาคม 2555 หน้าที่ 55–75.
ปรีดา จันทวงษ์ “การศึกษาเปรียบเทียบทดสอบระหว่างหลังคาทั่วไปกับปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติร่วมกับพัดลมไฟฟ้ากระแสตรงและวิเคราะห์ต้นทุนวงจรชีวิต ”วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 ม.ค.–เม.ย. 2556 หน้าที่ 104–114.
Chantawong P. “Field-measured Performance of Lightweight Roof Chimney Integrated with DC fans”, Energy Procedia. 138, pp. 44–49, 2017.
Anan-archa A., Chantawong P., Khedari J., “A new configuration of roof skylight combined with solar chimney”, Journal of Engg. Research Online First Article. 2022, https://doi.org/10.36909/jer.16259.