STUDY OF RESIDENTS’ BEHAVIOR FOR CONCEPTUAL DESIGN OF ROOM VENTILATION OF CONDOMINIUM IN BANGKOK
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบัน ประชากรผู้พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครส่วนมาก มีความนิยมเลือกที่พักอาศัยอยู่ในห้องพักอาศัยในคอนโดมิเนียม (Condominium) หรือ อาคารชุดมากขึ้น และจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาฝุ่น pm 2.5 ในกรุงเทพมหานคร ส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่อาศัยภายในอาคารที่เปลี่ยนแปลงไป การปิดประตู ปิดหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละออง การเปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้เกิดสภาวะสบายในเชิงความร้อน ส่งผลให้ไม่มีการถ่ายเท และการระบายอากาศภายในห้อง
งานวิจัยนี้ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การอยู่อาศัยของผู้พักอาศัยในห้องชุดของอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร เป็นการเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวณ 400 คน ด้วยการคำนวณทางสถิติ การทดสอบภาวะสารูปสนิทดี (Goodness of fit) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย และการทดสอบความเป็นอิสระ และศึกษาทฤษฎี และหลักการของการระบายอากาศ เพื่อศึกษาอัตราการระบายอากาศในห้องพักที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศ ให้เหมาะสมต่อบริบทของสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิต ของคนในกรุงเทพมหานคร พบว่า ความร้อนจากภายนอกอาคาร การเกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง (Urban Heat Island) และปัญหาฝุ่นละออง เป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยหลัก ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่อาศัยในห้องพัก งานวิจัยนี้มุ่งหาแนวทางการออกแบบระบบระบายอากาศ ให้มีอัตราการระบายอากาศที่เหมาะสม สามารถลดการเกิดการสะสมของความร้อน และความชื้นภายในห้องพัก ส่งผลให้เกิดสภาวะสบายเชิงความร้อน (Thermal Comfort) ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (Indoor Air Quality : IAQ) จะช่วยในการลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ของผู้พักอาศัยได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
สำนักข่าว efinancethai. (วันที่สืบค้น 21 ธันวาคม 2565). เจาะ 4 สาเหตุ ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงเลือกอยู่คอนโดมากกว่าบ้าน, [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.efinancethai.com/advertorial/
J. Khedari, A. Sangprajak, J. Hirunlabh, “Thailand climatic zones”, Renewable Energy, Vol. 25, (2002), pp. 267-280
Rathphum Pakarnseree, Kasem Chunkao, Surat Bualert, “Physical characteristics of Bangkok and its urban heat island phenomenon”, Building and Environment, Vol. 143, (2018), pp. 561-569
climatekids.nasa. (14 December 2022). What Is an Urban Heat Island, [Online] Available:
https://climatekids.nasa.gov/heat-islands/
จอร์จ เคดารี, ธนา อนันต์อาชา. “ประสิทธิภาพของตู้เสื้อผ้าบิวท์อินระบายอากาศ.” การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 60. 21-23 กุมภาพันธ์ 2565. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน: 181-188. 2565.
BLTBangkok. (วันที่สืบค้น 14 ธันวาคม 2565). สถิติการพักผ่อนของคนกรุงเทพฯ, [ระบบออนไลน์]
แหล่งที่มา: https://www.bltbangkok.com/poll/
อรพรรณ โพชนุกูล. (วันที่สืบค้น 11 ธันวาคม 2565). “SICK BUILDING SYNDROME” ภัยคนเมือง 2020, [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://tu.ac.th/thammasat-sick-building-syndrome-2020
Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition, New York, Harper & Row, 1967
American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers (ASHRAE), Standard 62.1-2016 Ventilation for Acceptable Indoor Air Quality, Atlanta, 2016
Vorakamol Boonyayothin et al, “Ventilation control approach for acceptable indoor air quality and enhancing energy saving in Thailand”, International Journal of Ventilation, Vol. 9, No. 4, (2011), pp. 315-326