การจัดลําดับความสําคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางการกำหนดนโยบายลดการเผา ในพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเผาชีวมวลในที่โล่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเข้มข้นของ PM2.5 ในบรรยากาศ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะช่วงฤดูการเผาในพื้นที่ทางการเกษตร งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางการกำหนดนโยบายในการลดการเผาในพื้นที่ทางการเกษตรอันจะนำไปสู่การลดมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ในบรรยากาศโดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลดุลพินิจการเปรียบเทียบรายคู่ของกลุ่มตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ (จำนวน 7 ราย) และตัวแทนประชาชนอาวุโสผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในจังหวัดนครสวรรค์ (จำนวน 8 ราย) รวมเป็น 15 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Excel spreadsheet โดยงานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านการเมือง และปัจจัยด้านสังคม ทำการคำนวณหาค่าน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยและเปรียบเทียบความสำคัญในการนำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายเพื่อลดการเผาในพื้นที่ทางการเกษตร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญมากที่สุด (ร้อยละ 37.1) รองลงมาเป็นปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี (ร้อยละ 18.2) ปัจจัยทางด้านสังคม (ร้อยละ 17.9) ปัจจัยทางด้านการเมือง (ร้อยละ 13.6) และสุดท้ายเป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 13.2)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2564). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564. กรุงเทพมหานคร; บริษัท เอพี คอนเน็กซ์ จำกัด, 2565
Oanh. N.T.K. (2017). A Study in Urban Air Pollution Improvement in Asia AIT. Research Project submitted to JICA-Research Institute, Asian Institute of Technology. October.
Chalermpong S, Thaithatkul P, Anuchitchanchai O, and Sanghatawatana P. Land use regression modeling for fine particulate matters in Bangkok, Thailand, using time-variant predictors: Effects of seasonal factors, open biomass burning, and traffic-related factors. Atmospheric Environment, 2021, 118128.
ประพัทธ์ พงษ์เกียรติกุล. (2563). การจำลองสำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบายในการควบคุม PM2.5 ในบรรยากาศของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.งานวิจัยและนวัตกรรมประเด็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://pubhtml5.com/qsls/btux/basic/
ภัคพงศ์ พจนารถ. (2563). การประเมินมาตรการแก้ไขมลพิษด้านฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบด้านเศรษฐกิจสังคม สุขภาพ.งานวิจัยและนวัตกรรมประเด็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://pubhtml5.com/qsls/btux/basic/
เครือข่ายอากาศสะอาดประเทศไทย. (2563). สมุดปกฟ้าอากาศสะอาด; เจาะลึกผลกระทบของมลพิษทางอากาศ และรากเหง้าของปัญหา.กรุงเทพมหานคร ฯ; ห้างหุ้นส่วนจำกัด สันสวย, 2565
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2565). รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน [ออนไลน์].แหล่งที่มา: https://fire.gistda.or.th
กุลธน ทนาพงศธร. (2565). ปัจจัยในการกำหนดนโยบายของรัฐ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www .library .polsci .chula.ac.th/dl/6a4daac2e0ac39a94b03ab39ac7d61f7
Xu, L., Shah, S. A. A., Zameer, H., and Solangi, Y. A. Evaluating renewable energy sources for implementing the hydrogen economy in Pakistan: a two-stage fuzzy MCDM approach. Environmental Science and Pollution Research, 26(32), 2019, 33202-33215.
Shah, S. A. A. Feasibility study of renewable energy sources for developing the hydrogen economy in Pakistan. International Journal of Hydrogen Energy, 45(32), 2020, 15841-15854.
Pivoto, D., Barham, B., Waquil, P. D., Foguesatto, C. R., Corte, V. F. D., Zhang, D., and Talamini, E. Factors influencing the adoption of smart farming by Brazilian grain farmers. International Food and Agribusiness Management Review, 22(4), 2019, 571-588.
Pivoto, D., Barham, B., Waquil, P. D., Foguesatto, C. R., Corte, V. F. D., Zhang, D., and Talamini, E. Factors influencing the adoption of smart farming by Brazilian grain farmers. International Food and Agribusiness Management Review, 22(4), 2019, 571-588.
Karali, E., Brunner, B., Doherty, R., Hersperger, A., and Rounsevell, M. Identifying the factors that influence farmer participation in environmental management practices in Switzerland. Human Ecology, 42(6), 2014, 951-963.
Chanthakhot, W., and Ransikarbum, K. Integrated IEW-TOPSIS and fire dynamics simulation for agent-based evacuation modeling in industrial safety. Safety, 7(2), 2021, 47.
Saaty, T.L. The Analytic Hierarchy Process, New York: McGraw Hill.International, Translated to Russian, Portuguese, and Chinese, Revised editions, Paperback (1996, 2000), Pittsburgh: RWS Publications; 1980.
Ransikarbum, K., Chanthakhot, W., Glimm, T., and Janmontree, J. Evaluation of Sourcing Decision for Hydrogen Supply Chain Using an Integrated Multi-Criteria Decision Analysis (MCDA) Tool. Resources, 12(4), 2023, 48.
จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์, และธราธร พชรฐิติกุล. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมในพื้นที่อุตสาหกรรม, วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร , 14(2), 168-184.
กันต์ธมน สุขกระจ่าง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการ ตัดสินใจ ในการเลือกทำเลที่ตั้งของร้านขายแก๊ส โดย วิธี AHP. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(1), 1-11.
นิภาพรรณ อนนัต์พลศักดิ์, เกรียงศักดิ์ วณิชชากรพงศ์ และปาณิศา อาจวิชัย. (2564). การจัดลำดับปัจจัยที่ส่ง ผลต่อการปรับราคาด้วยกระบวนการ ลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์สำหรับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 125-136.
วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2565). การศึกษาลำดับปัจจัยทางเลือกใช้พลังงานทดแทนของกลุ่มโรงงาน อุตสาหกรรมการผลิตอาหารโดยการใช้กระบวนการลำดับเชิงวิเคราะห์ (AHP). RMUTT Global Business and Economics Review, 17(2), 134-147.
ชีวาพร ไชยพันธ์ และกสิณ รังสิกรรพุม (2564). การศึกษาปัจจัยและแผนผังตลาดสดด้วยกระบวนการ วิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและแบบจำลองมอนติคาโลกรณีศึกษาตลาดเอกชนและตลาดเทศบาล. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(4), 48-60.
วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2542). AHP กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ:
กราฟฟิค แอนด์ ปริ้นติ้ง.
อุทุมพร ใช้บุญเรือง, และ อดิศักดิ์ธีรานุ พัฒนา. (2559). การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจ ในการทำงานของพนักงานขายบริษัทไทยโอซูก้า จำกัด โดยการใช้กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับ ชั้น. Modern Management Journal, 14(2), 51-66.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ:สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่ง-จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
Saaty, T. L. and Özdemir, M. S. (2014). How many judges should there be in a group?. Annals of Data Science, 1, 359-368.
Moradi, N. Performance Evaluation of University Faculty By Combinning BSC, AHP, and TOPSIS: From the Student ‘s Perspective. International Journal of the Analytic Hierarchy Process, 14(2), 2022.
Nguyen, T. and Truong, C. Integral SWOT-AHP-TOWS model for strategic agricultural development in the context of drought: A case study in Ninh Thuan, Vietnam. International Journal of the Analytic Hierarchy Process, 14(1), 2022.
บุญมี พันธุ์ไทย 2565. เทคนิคเดลฟาย. วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 1(1), 8-22
Saaty, T. L. Axiomatic foundation of the analytic hierarchy process. Management science, 32(7), 1986, 841-855.
สมเกรียรติ อินทวงศ์. (2563). บุพปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลจากการบริหารเชิงกลยุทธ์ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชียงใหม่เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 522-539.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2559). คู่มือส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร..[ออนไลน์].แหล่งที่มา: www.aepd01.doae.go.th/document/คลังความรู้/คู่มือสำหรับประชาชน/คู๋มือส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร.pdf
สรรพสิทธิ์ ชมพูนุช และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). แนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากการเผาในที่โล่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโกสัมพีอำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร. Journal of Modern Learning Development, 7(8), 96-108.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). การป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2565/66. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.opsmoac.go.th/songkhla-dwl-files-442991791198
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2566).คู่มือการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี .[ออนไลน์].แหล่งที่มา: https://www.opsmoac.go.th/satun-manual-files-441891791816