การศึกษาการจัดการวิทยุติดรถยนต์ไม่ใช้แล้ว เพื่อเป็นแนวทางการจัดการตามร่าง พรบ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

RARAI JANGJAI

บทคัดย่อ

ปัญหาการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีอยู่ทั่วโลกจากการผลิตและการคิดนวตกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความสะดวกสบายให้กับประชาชนผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ทั้งนี้ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่จะมาบังคับใช้ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เหล่านี้โดยตรง โดยทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพยายามที่จะร่างกฎหมายเพื่อนำมาบังคับใช้ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกร์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เพื่อลดผลกระทบจากการปนเปื้อนของสารที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการจัดการซากผลิตภัณฑ์วิทยุติดรถยนต์ ซึ่งเข้าข่ายเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่งที่อาจจะถูกมองข้ามเนื่องจากอุปกรณ์นี้ไม่ได้มีการตีตรายี่ห้อของผู้ผลิตและไม่ได้มีการจำหน่ายตรงต่อผู้บริโภคแต่เป็นการจำหน่ายให้กับผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตรถยนต์ทำการจำหน่ายรถยนต์ให้กับผู้บริโภคอีกครั้งหนึ่ง โดยงานวิจัยนี้ได้ดำเนินการสำรวจกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการจัดการกับวิทยุติดรถยนต์ไม่ใช้แล้วในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เขต อ.บางบ่อและ อ.บางเสาธง ในปี พ.ศ. 2564 โดยทำการสำรวจการนำรถไม่ใช้แล้วไปดำเนินการต่อจำนวน 100 ราย พบว่า จำหน่ายต่อให้กับร้านรับซื้อรถมือสองประมาณร้อยละ 25 อีกร้อยละ 75 จะเก็บรถเก่าไว้ใช้เองและส่งต่อให้คนในครอบครัวใช้  และร้านรับซื้อ-จำหน่ายรถยนต์มือสอง จำนวน 10 แห่ง พบว่า มีการรับรถยนต์เข้ามาปรับปรุงสภาพเพื่อจำหน่ายต่อจำนวน 11,400 คันต่อปี ในจำนวนรถยนต์ที่ทำการปรับปรุงจะพบวิทยุติดรถยนต์เสียจำนวน 264 ชิ้น โดยมีการจัดการด้วยการขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า 252 ชิ้น และ ทิ้งไปกับขยะทั่วไปจำนวน 12 ชิ้น สำรวจร้านซ่อมและร้านเครื่องเสียงติดรถยนต์ 10 แห่ง พบว่า มีการรับปรับปรุง ปรับแต่งเครื่องเสียงรถยนต์จำนวน  4,380 ชิ้นต่อปี โดยมีการจัดการด้วยการคืนให้กับเจ้าของรถยนต์จำนวน 2,520 ชิ้น ขายต่อให้ผู้ต้องการ 660 ชิ้น ทิ้งไปกับขยะทั่วไป 900 ชิ้น และ ขายให้ร้านรับซื้อของเก่า 300 ชิ้น สำรวจร้านรับซื้อของเก่า 10 แห่ง มีการรับซื้อวิทยุติดรถยนต์ไม่ใช้แล้วจำนวนมากกว่า 330 ชิ้นต่อปี และเมื่อรวมกับผลสำรวจที่ทางผู้รับซื้อรถยนต์มือสองและร้านปรับแต่งเครื่องเสียงรถยนต์ให้มาอีก 550 ชิ้น จะมีจำนวนวิทยุติดรถยนต์เสียที่จะมารวมอยู่ที่ร้านรับซื้อของเก่าจะมีจำนวนมากกว่า 880 ชิ้น เมื่อจำทำผังการไหลของการจัดการวิทยุติดรถยนต์ไม่ใช้แล้วของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและวิเคราะห์เปรียบเทียบกับบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายที่มีบังคบใช้ในปัจจุบัน และ เมื่อมีการบังคับใช้ร่าง พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละหน่วยจะต้องมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีการประกาศใช้ตามที่การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ไว้

Article Details

How to Cite
JANGJAI, R. (2023). การศึกษาการจัดการวิทยุติดรถยนต์ไม่ใช้แล้ว เพื่อเป็นแนวทางการจัดการตามร่าง พรบ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 10(1), 97–108. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/250946
บท
บทความวิจัย

References

คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ, ณภัทร ดนัย.(20 เมษายน 2565). ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เศษซากจากความเจริญรุ่งเรือง.สืบค้น

[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://ngthai.com/science/33111/e-waste/

OFFICE OF KNOWLEDGE MANAGEMENT AND DEVELOPMENT.(20 เมษายน 2565). E-Waste ปัญหาขยะ

ที่เป็นภาระสิ่งแวดล้อม.สืบค้น[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4287

สายใจ วิทยาอนุมาส. “การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย” .สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ฉบับ

ที่ 133.2560.

สิริลัคน์ สุบงกฎ. “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ :

ศึกษากรณีการจัดการซากโทรทัศน์” .นิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคณะ

นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2560.

สุจิตรา วาสนาดำรงดี. “เรียนรู้ความพยายามของสิงคโปร์ในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน – จากเตาเผาสู่การลดขยะที่

ต้นทาง” .วารสารสิ่งแวดล้อมปีที่ 26 ฉบับที่ 2.2565.

นิกร ภิญโญ. “การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในชุมชน: หลักการและแนวคิดภายใต้มาตรการทางกฎหมายของ

ประเทศไทยและต่างประเทศ” .คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.2563.

กัญญ์กณิษฐ์ กมลกิตติวงศ์. บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์. “ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดการกรีนซัพพลายเชนในกลุ่ม

อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย ; The Critical Factors Affecting Green Supply Chain

Management Implementation in Electrical and Electronic Industry in Thailand”.ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2558

บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จํากัด.16 พฤศจิกายน 2563.กรมศุลฯแจงนำเข้า-ส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์และ

พลาสติกยังสูง.สืบค้น[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.thansettakij.com/business/289650

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี.9 กุมภาพันธ์ 2565.แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ปกป้องสิ่งแวดล้อม-

สุขภาพประชาชน.สืบค้น[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.pmdu.go.th/electronic-waste/

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.วราภรณ์ บุญภักดี.3 สิงหาคม 2563.คู่มือประชาชน

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ของเสียที่มาพร้อมเทคโนโลยี.สืบค้นจากhttps://dl.parliament.go.th/handle/lirt/588461

ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี.3 สิงหาคม 2563.ร่างพ.ร.บ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์

อิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข): ความหวังหรือความสิ้นหวัง สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.สืบค้น[ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2015/11/sujittra-e-waste/

สุธิดา ภูกองชนะ. “การศึกษาความตระหนักและแนวปฏิบัติในการเก็บรวบรวมและการคืนซากแบตเตอรี่

โทรศัพท์มือถือในประเทศไทย” .วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2560.

อภิญญา กิจเกิดแสง,สวรรยา ธรรมอภิพล. “พฤติกรรมและความรู้ของประชาชนในการจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์

กรณีศึกษา ตำบลหัวโพ จังหวัดราชบุรี.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.2561.