Lifecycle Assessment of Railway Concrete Bridge Greenhouse Gas Emission in Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการประเมิณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโครงการก่อสร้างสะพานรถไฟทางคู่ โดยศึกษาจากโครงการก่อสร้างสะพานรถไฟทางคู่ ช่วงสถานีบางเค็ม – สถานีเขาย้อย โดยคิดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแยกตามหมวดหมู่และจัดลำดับตามปริมาณตามหมวดหมู่งานหลักๆ ได้แก่ งานเสาเข็มคอนกรีต (Precast Concrete Pile) งานฐานราก (Pile Cap) งานคาน I – Girder งานพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก (Deck Slab) รวมไปถึงแยกตามขอบเขตของการวิจัย ได้แก่ ช่วงผลิตวัสดุก่อสร้าง (Candle to Gate: A1 – A3) ช่วงการขนส่งวัสดุก่อสร้าง (Transportation to Site: A4) และช่วงก่อสร้าง (Gate to Gate: A5) โดยผลจากการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์ข้อมูลในช่วงการผลิตวัสดุก่อสร้างพบว่าในช่วงผลิตวัสดุก่อสร้างปล่อยก๊าซเรือนกระจก 54,397,273.39 kgco2e ช่วงการขนส่งวัสดุก่อสร้างพบว่าในช่วงผลิตวัสดุก่อสร้างปล่อยก๊าซเรือนกระจก 811,656.65 kgco2e ในช่วงการก่อสร้างจะพบว่าในช่วงการก่อสร้างปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวน 661,878.52 kgco2e โดยในช่วงการผลิตวัสดุก่อสร้างมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 97.36 ซึ่งหากคิดตามหมวดงานหลักแล้วในงาน Precast Concrete I – Girder ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 21,478,768.43 kgco2e และงานเสาเข็มคอนกรีต (Pile) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 16,845,427.32 kgco2e งานพื้นคอนกรีตสระพาน (Deck Slab) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10,058,475.15 kgco2e และสุดท้ายงานฐานราก (Pile Cap) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 7,417,223.02 kgco2e ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มีการใช้วัสดุก่อสร้างในปริมาณที่มาก ดังนั้นในการออกแบบโครงสร้างจึงควรคำนึงการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและวิธีการก่อสร้าง เห็นได้จากในช่วงผลิตวัสดุที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 97.36 ซึ่งเกิดจากการใช้คอนกรีตและเหล็กเสริมคอนกรีตเป็นส่วนใหญ่ การเลือกวิธีการก่อสร้างจะส่งผลถึงการขนส่งและการก่อสร้างภายในสถานที่ก่อสร้าง ดังเช่น ในงานคอนกรีตสำเร็จรูปจะมีการขนส่งที่ค่อนข้างมากหากเปรียบเทียบกับงานคอนกรีตหล่อในที่ และในกระบวนการก่อสร้างในงานคอนกรีตสำเร็จรูปจะก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น้อยกว่างานคอนกรีตหล่อในที่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization). Low Carbon Society Guidebook. Low Carbon Society Guidebook. First Edition, Laksi District, Bangkok: Taweewat Printing Co., Ltd.;2015.
GABC Global Alliance for Buildings and Construction. International Energy Agency and the United Nations Environment Program: 2019 Global Status Report for Buildings and Construction: Towards a Zero-Emission, Efficient and Resilient Buildings and Construction Sector.
Chang, B., & Kendall, A. (2011). Life cycle greenhouse gas assessment of infrastructure construction for California’s high-speed rail system. Transportation Research Part D: Transport and Environment, 16(6), 429-434.
Kamontip Aransiri. (2010) Greenhouse Gas Emissions from Construction Materials and Processes. King Mongkut's University of Technology Thonburi/Bangkok.
Seo Y, Kim SM. Estimation of materials-induced CO2 emission from road construction in Korea. Renewable and Sustainable Energy Reviews. 2013 Oct 1; 26:625-31.
Fenner, A. E., Kibert, C. J., Woo, J., Morque, S., Razkenari, M., Hakim, H., & Lu, X. (2018). The carbon footprint of buildings: A review of methodologies and applications. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 94, 1142-1152.
ชลิตา สุวรรณ, ธณัฏฐ์ยศ สมใจ. (2020). Comparative Greenhouse Gas Evaluation of House Construction: A Conventional House versus an Interlocking Block House. วารสาร วิชาการ พระจอมเกล้า พระนครเหนือ, 30(4), 570-577.
ณัฏฐ์วิภา รุ่งเรืองธนาผล. 2559. “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากวัสดุและการใช้งานของอาคารพักอาศัยต้นแบบในโครงการบ้านประชารัฐ การเคหะแห่งชาติ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หทัยรัตน์ ลอยประโคน. (2557).“การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการสร้างบ้านผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
นิกร เจียมวรพงศ์. (2555). การศึกษากระบวนการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับบ้านพักอาศัยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรณิดา ปานทอง. (2557). การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้พลังงานในอาคารประเภทอาคารชุดที่พักอาศัย ช่วงก่อสร้างและพักอาศัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ธวัชจิ้ว บุญชู. การประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์ เพื่อลดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษที่เกิดขึ้น จากเครื่องจักรกลในกระบวนการก่อสร้างทางรถไฟ (Doctoral dissertation, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2564). ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) [ออนไลน์]. ได้จาก: https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 มกราคม 2565].
Hammond G, Jones C. Inventory of carbon & energy: ICE. Bath: Sustainable Energy Research Team, Department of Mechanical Engineering, University of Bath; 2008.
IPCC SE, Buendia L, Miwa K, Ngara T, Tanabe K. IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories-volume 2: Energy.
Lee JY, Lee CK, Chun YY. Greenhouse gas emissions from high-speed rail infrastructure construction in Korea. Transportation Research Part D: Transport and Environment. 2020 Oct 1; 87:102514.
Mao, C., Shen, Q., Shen, L., & Tang, L. (2013). Comparative study of greenhouse gas emissions between off-site prefabrication and conventional construction methods: Two case studies of residential projects. Energy and Buildings, 66, 165-176.
McLellan BC, Williams RP, Lay J, Van Riessen A, Corder GD. Costs and carbon emissions for geopolymer pastes in comparison to ordinary portland cement. Journal of cleaner production. 2011 Jun 1;19(9-10):1080-90.
López-Mesa B, Pitarch Á, Tomás A, Gallego T. Comparison of environmental impacts of building structures within situ cast floors and with precast concrete floors. Building and environment. 2009 Apr 1;44(4):699-712.
Chang Y, Lei S, Teng J, Zhang J, Zhang L, Xu X. The energy use and environmental emissions of high-speed rail transportation in China: A bottom-up modeling. Energy. 2019 Sep 1; 182:1193-201.