การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาแบบมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

นุชรัตน์ นุชประยูร

บทคัดย่อ

gif.latex?\bar{x}


gif.latex?\bar{x}


gif.latex?\bar{x}


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาแบบมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพโมบายแอพพลิเคชันแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาแบบมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้โมบายแอพพลิเคชันแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สนใจท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โมบายแอพพลิเคชันนี้ทำการพัฒนาขึ้นด้วยแอนดรอยด์สตูดิโอและจัดเก็บข้อมูลด้วยมายเอสคิวแอล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาแบบมีส่วนร่วม และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ มีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า โมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาแบบมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยลำดับการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้ใช้กำหนด แสดงเส้นทางการเดินทางด้วย Google Map สืบค้นข้อมูลร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ สถานที่ฉุกเฉินได้ ผลการประเมินหาประสิทธิภาพโมบายแอพพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.52,  S.D. = 0.42) และความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.49,  S.D. = 0.59)

Article Details

How to Cite
นุชประยูร น. (2022). การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาแบบมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 9(2), 36–49. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/248840
บท
บทความวิจัย

References

ชนัญ วงษ์วิภาค. (2547). การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ. เพชรบุรี : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

นิศากร เถาสมบัติ, เนตรนภา แซ่ตั้ง และณัฏฐ์ธมน หีบจันทร์กรี. (2563) .การพัฒนาแอปพลิเคชันวัดไทยบนสมาร์ทโฟน. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 20(1). 34-54.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิสุทธา อารีราษฏร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

ศศิพิมพ์ ปิ่นประยูร, ศศิมาพร ภูนิลามัย, กาญจนา ผาพรม, และสุขสันต์ พรมบุญเรือง. (2558). แอพพลิเคชั่นแนะนาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ ภูมิภาคอาเซียน. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุรสีห์ น้อยมหาไวย, และปานจิตร์ หลงประดิษฐ์. (2559). แอพพลิเคชั่นรับรู้และแสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี ตามการจำแนกกลุ่มของผู้ใช้ด้วยกูเกิ้ลแมพเอพีไอบนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 387-394.

สุธิรา จันทร์ปุ่ม, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และแพรตะวัน จารุตัน. (2560). การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 4(2). 114-120.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561 - 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา.