การตรวจวัดและการจัดทำแผนที่เสียงในกระบวนการผลิตกระสอบพลาสติกของโรงงานแห่งหนึ่ง จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับเสียงดังในสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อจัดทำแผนที่เส้นเสียง (Noise Contour Map) และกำหนดพื้นที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) ในกระบวนการผลิตกระสอบพลาสติก ทำการตรวจวัดระดับดับเสียงในพื้นที่ซึ่งแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 11 พื้นที่ รวมจุดตรวจวัดทั้งหมด 352 จุด โดยใช้เครื่องเครื่องวัดระดับเสียง Sound level meter รุ่น NL-42EX (Class 2) ที่ได้มาตรฐาน เครื่องวิเคราะห์เสียง 25 to 141 dB มาตรฐาน Class 2 Frequency weighting A / C / Z, range 20Hz to 8kHz ตัวเครื่องมาตรฐาน IEC 61672 Type 2, ANSI S1.4, JISC1509-1 นำผลตรวจวัดระดับเสียงมาจัดทำแผนที่เส้นเสียง (Noise Contour Map) และกำหนดพื้นที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) ผลการศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานของประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน พ.ศ.2561 พบว่าทุกพื้นที่ในกระบวนการผลิตกระสอบพลาสติกมีเสียงดังเกินมาตรฐานทั้ง 352 จุด คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับเสียงเฉลี่ย 98.7 dB(A) ดังนั้นในบริเวณกระบวนการผลิตกระสอบพลาสติก ต้องมีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านเสียงของพนักงานขณะปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการเสื่อมสรรถภาพการได้ยินโดยเบื้องต้นควรกำหนดให้มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล คือ ที่อุดหู (Ear Plug) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถลดการสัมผัสเสียงดังได้ และควรดำเนินการจัดทำมาตรการการอนุรักษ์การได้ยินเพื่อให้สอดคล้องตามกฎหมาย และเพื่อลดความเสี่ยงด้านสมรรถภาพการได้ยินของพนักงาน
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2563, พฤศจิกายน. 10). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี2559, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_59.pdf
อุไรวรรณ หมัดอ่าดัม, สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง, ทัศณุ เรืองสุวรรณ์, จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย และ นุจรีย์ แซ่จิว. “การสูญเสียการได้ยินของพนักงานชาวเมียนมาที่สัมผัสเสียงดัง ในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช”,วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(4), 2561, หน้า 23-33.
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. “หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ พ.ศ.2561” ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 135 ตอนพิเศษ 57 ง.
ยุพดี จินดาพงษ์. “การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในโรงงานปั่นทออุตสาหกรรม เพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง”, วารสารแพทย์เขต6-7, 27(2-3), 2551, หน้า 979-987.
มัตติกา ยงประเดิม. (2563, ธันวาคม. 18). การวัดระดับเสียงและแผนที่เส้นเสียงในกระบวนการผลิตของโรงงานสิ่งทอจังหวัดขอนแก่น, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://jes.rtu.ac.th/rtunc2017/pdf/Oral%
วิชาญ บุญค้ำ และ วราภรณ์ ทุมวงษ์. “การตรวจวัดและการจัดทำแผนที่เสียงรบกวนในโรงงานผลิตตู้แช่เย็น จังหวัดกรุงเทพมหานคร”, วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 6(2), (2562), หน้า 21-29
กระทรวงแรงงาน. (2563, ธันวาคม. 11). แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://medinfo2.psu.ac.th/commed/occmed/images/TIS18001/tisp4/law%20Physi/imageslaw/practice_hot.pdf
สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. (2563, พฤศจิกายน. 24). คู่มือวัดเสียงรบกวน, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pcd.go.th/wpcontent/uploads/2020/06/pcdnew-2020-06-05_06-47-44_590694.pdf
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. “มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน พ.ศ.2561” ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 135 ตอนพิเศษ 19 ง.