The การพัฒนาสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย

Main Article Content

Nuchsharat Nuchprayoon

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่หมู่ 6 ตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ โปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ อะโดบี แอนนิเมทและอะโดบี อาฟเตอร์เอฟเฟกต์ ใช้แบบประเมินสำหรับหาประสิทธิภาพสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวและประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีลักษณะเป็นสเกล 5 ระดับ ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินประสิทธิภาพจำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า ผู้วิจัยทำการพัฒนาสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยที่พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยเรื่อง โรคข้อเข่าเสื่อม ผลการหาประสิทธิภาพที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ย 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46 อยู่ในระดับดี ผลการหาความพึงพอใจที่มีต่อสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยมีค่าเฉลี่ย 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในระดับดีมาก

Article Details

How to Cite
Nuchprayoon, N. . (2021). The การพัฒนาสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 8(2), 1–11. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/244133
บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์.

ชุมพล จันทร์ฉลองและอมีนา ฉายสุวรรณ. (2558). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง เทพ 3 ฤดูกับการลดโลกร้อน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2), 111-119.

ดาวรถา วีระพันธ์และณัฐรดี อนุพงศ์. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การ์ตูนมัลติมีเดีย 2 มิติ เรื่อง อยู่อย่างพอเพียง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7(3), 61-72.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2550). นิยามเลิร์นนิง อ็อบเจกต์ เพื่อการออกแบบพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปี ที่ 4 ฉบับที่4. หน้า 50-59.

นิรันตรี อาจเอื้อ. (2558). การพัฒนาเลิร์นนิงอ๊อบเจ็กต์ โดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปถมา วรรณกุล. (2550). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจ พอเพียงให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหน้าพระลาน (พิบูลสงเคราะห์) จังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะพงษ์ ราศี. (2559). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิมลพรรณ หิรัณเอกภาพ. (2553). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวิทย์ ไวยกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการออกแบบเลิร์นนิงออบเจ็คบนแท็บเล็ตโดยใช้เกมเป็นฐานที่มีการช่วยเสริมศักยภาพเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต การศึกษาและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.