การเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังโรคลิจิแนร์ในโรงแรมแห่งหนี่ง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Mrs.injira niyomtoon

บทคัดย่อ

โรคลีเจียนแนร์ (Legionnaires’ Disease) เป็นโรคปอดอักเสบเกิดจากการหายใจรับเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา (Legionella) ซึ่งแพร่กระจายผ่านทางละอองน้ำเข้าไปในร่างกาย      พบได้ทุกภูมิภาคของโลกและพบได้ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศในเขตร้อนที่มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของลีจิโอเนลลา      กระทรวงสาธารณสุขของไทยมีมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของโรคในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาพักในโรงแรมเขตกรุงเทพมหานครและทั่วประเทศ  เนื่องจากการติดเชื้อลีจิโอเนลล่าของนักท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของประเทศทำความเสียหายต่อธุรกิจการท่องเที่ยว   โรคลีเจียนแนร์มีอัตราป่วยตายสูง ในประเทศไทยมีประวัติการแพร่ระบาดของโรคลีเจียนแนร์มาแล้วในช่วงปลายปี 2549  ดังนั้นการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อลีจิโอเนลล่าภายในโรงแรมที่พักของไทยจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญ


งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Description Study)   มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังเชื้อลีจิโอเนลล่าภายในโรงแรมแห่งหนึ่งที่มีรายงานตรวจพบเชื้อลีจิโอเนลล่า ในการศึกษาได้ตรวจเชื้อจากตัวอย่างน้ำที่เก็บจากแหล่งน้ำภายในโรงแรมที่อาจเป็นที่อยู่ของเชื้อลีจิโอเนลล่าและสามารถกระจายเชื้อสู่แขกและผู้อยู่อาศัยในโรงแรม เช่น หอผึ่งเย็น น้ำใช้จากก๊อกน้ำร้อนและก๊อกน้ำเย็นในห้องพักแขก จากฝักบัวอาบน้ำ ถังพักน้ำร้อน ถังพักน้ำเย็นบนหลังคาและใต้ดิน พบว่าตรวจพบเชื้อในทุกแหล่งที่เก็บตัวอย่างน้ำ ยกเว้นถังพักน้ำเย็นใต้ดิน  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน (SWOT analysis) หาสาเหตุของการปนเปื้อนของเชื้อทำให้สามารถสร้างมาตรการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อขึ้น เปรียบเทียบการพบเชื้อลีจิโอเนลล่า ก่อนและหลังการใช้มาตรการการเฝ้าระวัง พบว่าก่อนการใช้มาตรการพบเชื้อได้ทุกแหล่งที่เก็บตัวอย่างน้ำ ยกเว้นถังเก็บน้ำใต้ดิน แต่หลังจากการเฝ้าระวังซึ่งมีการเก็บตัวอย่างน้ำตรวจทุกเดือน พบเชื้อเพียงเดือนแรก จาก หอผึ่งเย็น ก๊อกน้ำร้อน และก๊อกน้ำเย็นจากห้องพักแขกเท่านั้น  ต่อจากนั้นตรวจไม่พบเชื้อเลยจากทุกแหล่งตลอดระยะเวลาดำเนินมาตรการ 12 เดือน  ดังนั้นเพื่อให้การเฝ้าระวังเชื้อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องปฏิบัติตามแผนของมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อลีจิโอเนลล่าจากแหล่งแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด   

Article Details

How to Cite
niyomtoon, M. (2021). การเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังโรคลิจิแนร์ในโรงแรมแห่งหนี่ง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร . วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 7(2), 40–50. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/242483
บท
บทความวิจัย

References

นิจศิริ เรืองรังษี และ ชนิดา พลานุเวช. (2554). การเฝ้าระวังสุขภาวะและความเสี่ยงจาการติดเชื้อโรคในสปา, วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปานทิพย์ ผลความดี. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังโรคลีเจียนแนร์ในโรงแรมพื้นที่เขตวัฒนาโดยใช้เครือข่าย. สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร

พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล และคณะ. (2557). ความชุกของการปนเปื้อนเชื้อลีจิโอเนลล่า นิวโมฟิล่าและลักษณะการดูแลบำรุงรักษาคูลลิ่งทาวเวอร์ที่ติดตั้งในสถานที่บางแห่ง กรุงเทพมหานคร. สงขลานครินทร์เวชสาร. 32(1), 1-10.

สมชัย บวรกิตติ. 2552. โรคทางละอองน้ำในอากาศ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 3(4), 489-494.

สมภพ ญาณพิสิฐกุล และนัยนา ศรีชัย. (2556). ความชุกของเชื้อลีจีโอเนลล่า (Legionella sp.) ในหอผึ่งเย็นของโรงแรมในตำบลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต, การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย” วันที่ 10 พฤษภาคม 2556, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2550). การควบคุมเฝ้าระวังปัญหาการแพร่ระบาด โรคลีเจียนแนร์. พิมพ์ครั้งที่ ๒ สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. กรุงเทพ.