ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แรงดันสูงควบคุมระยะไกล สำหรับลดค่ากระแสไฟฟ้าในครัวเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แรงดันสูงควบคุมระยะไกล สำหรับลดค่ากระแสไฟฟ้าในครัวเรือน และศึกษาวิเคราะห์ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ในแต่ละช่วงเวลา โดยอุปกรณ์หลักประกอบด้วย อินเวอร์เตอร์ขนาด 1,500 วัตต์ ทำงานร่วมกับแผงโซล่าเซลล์ขนาด 350 วัตต์ จำนวน 5 แผง ควบคุมการทำงานด้วยตู้ควบคุมขนาด 20 ช่อง ติดตั้งฟิวส์ไฟฟ้ากระแสตรง เซอร์กิตเบรกเกอร์ และอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางไฟฟ้ากระแสตรง (DC Surge Protector) ทางด้านไฟฟ้ากระแสสลับติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Surge Protector) เซอร์กิตเบรกเกอร์ไฟฟ้ากระแสสลับควบคุมผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบป้องกันการจ่ายไฟย้อนเข้าระบบของการไฟฟ้า (CT : Current Transformer) และมอนิเตอร์แสดงค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าทางด้านไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อให้ทราบสถานการณ์ทำงาน พบว่า หลังติดตั้งทดสอบการทำงานในช่วงเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. โดยเฉลี่ย 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง จำนวน 3 วัน ช่วงเวลาการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือช่วงเวลา 13.00 น. สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ได้ปริมาณสูงสุดทางฝั่งขาเข้า และกระแสไฟฟ้าจากอินเวอร์เตอร์ขาออกมีค่าเท่ากับ 8.73 และ 5.98 แอมแปร์ ตามลำดับ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 8.10 หน่วยต่อวัน หรือ 243 หน่วยต่อเดือน ลดปริมาณค่ากระแสไฟฟ้าเฉลี่ย 850-1,050 บาทต่อเดือน และเมื่อทำการเปรียบเทียบปริมาณกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน มีค่าเท่ากับ 393 หน่วยต่อเดือน พบว่า จะสามารถลดปริมาณกระแสไฟฟ้าได้เหลือ 150 หน่วยต่อเดือน หรือจำนวนร้อยละ 38.17
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับ
ประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา”. พิมพ์ครั้งที่ 2. จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2561.
กู๊ดวี. (2563 กุมภาพันธ์ 20). คู่มือการใช้งาน NS/DNS Series User Manual, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://en.goodwe.com/downloads.asp
นครินทร์ รินผล. “คู่มือการออกแบบระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เบื้องต้น”. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, กรุงเทพฯ, 2559.
เมคาช็อป. (2563 กุมภาพันธ์ 24). วัตต์มิเตอร์ วัตต์ฮาวร์มิเตอร์, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.mechashop.com/store/product/view.html
ภัทรเมธากิจ. (2563 กุมภาพันธ์ 19). CT วัดกระแส (Measuring Current Transformer) หม้อแปลงกระแสสำหรับเครื่องมือวัด, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pmk.co.th/shop
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (20 กรกฎาคม 2563). อัตราค่าไฟฟ้า-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pea.co.th/Portals/0/demand_response/Electricity%20Reconsider.pdf?ver=2018-10-01-155123-370
ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล กฤษณะ จันทสิทธิ์ และธีรวัฒน์ ชื่นอัศดงคต. “ระบบปั๊มลมพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก”. วารสารวิจัยรำไพรรณี, 14(2), 2563, 43-54.
สมบัติ นพจนสุภาพ. “ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดค่าไฟฟ้าสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี”. PULNET Journal, 4(2), 2560, 194-205.