RISK ASSESSMENT OF FORMALDEHYDE IN GROSS ANATOMY LABORATORY IN A UNIVERSITY
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อทำการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการรับสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์ทางการหายใจของนักศึกษาทันตแพทย์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ขณะเรียนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ในห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ โดยใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงของ United States Environmental Protection Agency (U.S.EPA) การดำเนินงานวิจัยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างสารฟอร์มัลดีไฮด์ในอากาศตามวิธีของ NIOSH Method 2016 โดยทำการติดตั้งอุปกรณ์และเก็บตัวอย่างในระดับหายใจ โดยใช้หลอดเก็บตัวอย่างชนิด 2,4-dinitrophenylhydrazine และวิเคราะห์หาปริมาณของสารฟอร์มัลดีไฮด์ด้วยวิธี High Performance Liquid Chromatography (HPLC) จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์ไปประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง จากผลการวิเคราะห์พบว่าค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์ในห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 0.155 ppm (0.126 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และจากการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตลอดช่วงอายุ (78 ปี) พบว่าค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เท่ากับ 2.16 × 10-7 ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ตามข้อกำหนดของ U.S.EPA คือน้อยกว่า 1×10-6 หรือความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมีน้อยกว่า 1 คนต่อประชากรหนึ่งล้านคน
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, “ตรวจการสัมผัสฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ด้วยกรดฟอร์มิก (Formic acid) ได้หรือไม่”, การตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของสารเคมีในอุตสาหกรรม, มูลนิธิสัมมาอาชีวะ, ชลบุรี, 5 มกราคม2562.
อุมากร ธงสันเทียะ และสุนิสา ชายเกลี้ยง, “การสัมผัสสารฟอร์มาลดีไฮด์ของบุคคลในห้องปฎิบัติการทางการแพทย์”, วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 25(1), 2559, pp. 18-27.
N.S.M. Elshaer, and M.A.E. Mahmoud, “Toxic Effects of Formalin-treated Cadaver on Medical Students, Staff Members, and Workers in The Alexandria Faculty of Medicine”, Alexandria Journal of Medicine, 53(2017), 2017, pp. 337-343.
International Agency for Research on Cancer. IARC Monographs on the evaluation of carcinogenic risks to humans Vol. 100F – Chemical agents and related occupations, Lyon: IARC, 2012.
วรกมล บุณยโยธิน, วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์ และทัศน์พงษ์ ตันติปัจพร, “การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการสัมผัสฟอร์มาลดีไฮด์ทางการหายใจของเจ้าหน้าที่ผ่าศพและรักษาศพ”, วารสารเวชสารแพทย์ทหารบก. 71(1), 2561, pp. 39-49.
กมลวรรณ พรมเทศ, อรวรรณ แก้วบุญชู, กิติพงษ์ หาญเจริญ, และฉัตรชัย เอกปัญาสกุล, “การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของการรับสัมผัสฟอร์มัลดีไฮด์ทางการหายใจในนิสิตแพทย์ระหว่างเรียนภาคปฏิบัติทางกายวิภาค”. วารสารพิษวิทยาไทย, 29(1-2), 2557, pp. 8-22.
National Institute of Occupational Safety and Health (NIOSH), “Formaldehyde: Method 2016”, NIOSH Manual of Analytical Methods (MNAM) Fourth Edition, 2003.
N. Kanjanasiranont, T. Prueksasit, D. Morknoy et al., “Determination of ambient air concentrations and personal exposure risk levels of outdoor workers to carbonyl compounds and BTEX in the inner city of Bangkok, Thailand”, Atmospheric Pollution Research, 7, 2016, pp. 268-277.
United States Environmental Protection Agency. (2020, June, 17). Risk Assessment Guidance for Superfund Volume I: Human Health Evaluation Manual (Part F, Supplemental Guidance for Inhalation Risk Assessment), [Online] Available: https://www.epa.gov/sites/production/files/2015-09/documents/ partf_200901_final.pdf.
United States Environmental Protection Agency. (2020, June, 17). Exposure Factors Handbook 2011 Edition (Final Report) EFH: Chapter 18 Lifetime, [Online] Available: https://cfpub.epa.gov/ncea/risk/ recordisplay.cfm?deid=236252.
United States Environmental Protection Agency. (2020, June, 17). Formaldehyde; CASRN 50-00-0, [Online] Available: https://cfpub.epa.gov/ncea/iris/iris_documents/documents/subst/0419_summary.pdf.
N. Kanjanasiranont, T. Prueksasit, and D. Morknoy, “Inhalation exposure and health risk levels to BTEX and carbonyl compounds of traffic policeman working in the inner city of Bangkok, Thailand”, Atmospheric Environment, 152, 2016, pp. 111-120.
K. Lakchayapakorn and P. Watchalayarn, “Formldehde Exposure of Medical Students and instructors and Clinical Symptoms during Gross Anatomy Laboratory in Thammasat University”, J Med Assoc Thai, 93(7), 2010, pp. 92-97.
แก้ว ขจรไชยกูล, “การตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ภายในห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาล”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, 2543.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2563, มิถุนายน. 18). แนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพในสถานประกอบการที่มีการใช้สารฟอร์มัลดีไฮด์ สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/731.