The THE STUDY OF DUST PARTICLES SMALLER THAN 10 MICONS IN A FUEL SERVICE STATION, MUEANG DISTRICT, BURI RAM PROVINCE

Main Article Content

วิชาญ บุญค้ำ
ภัคศรัญย์ นวสรณ์สิริ
กัญญารัตน์ แสงนิล

บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความเข้มข้น และจำแนกขนาดของฝุ่นที่เล็กกว่า 10 ไมครอน รวมถึงประเมินความเสี่ยงการรับสัมผัสอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ของพนักงานทำการเก็บตัวอย่างแบบติดตัวบุคคล (Personal Air Sampling) จากจุดเก็บตัวอย่างทั้งหมด 7 จุด ในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีหัวจ่ายน้ำมันตั้งแต่ 18 หัวจ่ายขึ้นไป และมีร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ ผลการวิจัยพบว่าปริมาณอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนที่มีค่าความเข้มข้นมากที่สุดเท่ากับ 0.00125 mg/m3 และน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 0.00025 mg/m3 เมื่อนำมาวิเคราะห์หาการกระจายขนาดโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบการเทียบขนาด พบว่าเป็นฝุ่นขนาด 2-3.5 ไมครอนมีปริมาณมากที่สุด ซึ่งฝุ่นใหญ่ที่สุดมีขนาด 10 ไมครอนและเล็กที่สุดมีขนาด 1.53 ไมครอน จากนั้นนำมาประเมินความเสี่ยงในการรับสัมผัสของพนักงานพบว่าผลการประเมินระดับความเสี่ยงจากความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มข้นของฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน กับระดับความถี่การได้รับสัมผัสทั้งหมดจำนวน 7 จุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 5 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เป็นระดับที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสถานะสุขภาพ ไม่เพิ่มอัตราป่วยหรือตาย ไม่มีผลต่อการผลิต ทั้งนี้ถึงแม้ว่าจะมีค่าไม่เกินมาตรฐาน แต่ก็อาจจะมีแนวโมที่จะสูงขึ้นเนื่องจากมีการจราจรของรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นจึงควรจัดให้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง จัดสรรสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี มีการจัดการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลของพนักงานในการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องฝุ่นละอองที่มีผลต่อสุขภาพรวมถึงการป้องกันอันตรายจากฝุ่นละออง จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่มีคุณภาพ และเพียงพอต่อการใช้งานของพนักงาน

Article Details

How to Cite
บุญค้ำ ว., นวสรณ์สิริ ภ., & แสงนิล ก. (2020). The THE STUDY OF DUST PARTICLES SMALLER THAN 10 MICONS IN A FUEL SERVICE STATION, MUEANG DISTRICT, BURI RAM PROVINCE. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 7(1), 20–28. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/239897
บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. “ตำราระบบบำบัดมลพิษอากาศ”. พิมพ์ครั้งที่ 2. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2550.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. “ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย 2560” ประกาศใน

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 104 ง. วันที่22 กันยายน 2547., 2560.

เบญจวรรณ ธงริ้ว. “การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชากรในจังหวัดราชบุรี จากการรับสัมผัสโลหะในฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)”. (วิทยานิพนธ์มหาบัณทิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.

สมานชัย เลิศกมลวิทย์. “การหาปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5 PM2.5-10 PM10) และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นในบรรยากาศภายในอาคาร และฝุ่นที่บุคคลได้รับ”. (วิทยานิพนธ์มหาบัณทิต), 2543.

สำนักงานสถิติจังหวัดบุรีรัมย์. (ออนไลน์) ได้จาก http://www.buriram.co.th, 2561.