การศึกษาปล่องผนังโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติ ที่ติดตั้งกับบ้านจำลองสภาวะอากาศแบบร้อนชื้นของกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปรีดา จันทวงษ์
โยธิน อึ่งกูล
วราวุธ ทรัพย์ถาวร
ชิตพล ไมตรีจิตร
ธนาทร แสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาทดลองสมรรถนะของปล่องผนังโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติ (SCCW) ที่ติดตั้งกับบ้านจำลองภายใต้สภาวะอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย สำหรับช่วยลดความร้อนและเพิ่มอัตราการไหลเวียนของอากาศภายในบ้าน มีลักษณะโครงสร้างของปล่องผนังโซล่าร์เซลล์ประกอบด้วยผนังโซล่าร์เซลล์ ช่องว่างอากาศ พัดลมไฟฟ้ากระแสตรงติดตั้งตรงกลางระหว่างช่องว่างอากาศใช้ควบคุมอัตราการไหลของอากาศ ในระบบและผนังชั้นในเป็นคอนกรีตมวลเบาแบบอบไอน้ำ ปล่องมีขนาดความสูง 1.50 m และความกว้าง 0.70 m ผนังโซล่าร์เซลล์และผนังคอนกรีตมวลเบาชั้นในมีความหนาประมาณ 0.03 m ปล่องผนังโซล่าร์เซลล์มีขนาดช่องว่างอากาศ 0.04 m ช่องเปิดด้านล่างอยู่ภายในบ้านเพื่อเพิ่มการระบายอากาศมีขนาด 0.24 x 0.12 m2 ผนังโซล่าร์เซลล์ ด้านบน มีช่องเปิดขนาด 0.24 x 0.12 m2  ใช้ระบายอากาศร้อนสู่สิ่งแวดล้อม ปล่องผนังโซล่าร์เซลล์กับผนังทั่วไปติดตั้งอยู่บนผนังทางด้านทิศใต้ของบ้านจำลองขนาดเล็กที่มีปริมาตรเท่ากับ 4.05 m3 มีความหนา 10 cm สร้างด้วย ผนังมวลเบาแบบอบไอน้ำ ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของห้องที่ติดตั้งปล่องผนังโซล่าร์เซลล์กับผนังคอนกรีตมวลเบาชั้นเดียวติดตั้งกับบ้านจำลองที่มีขนาดเท่ากัน ผลการศึกษาทดลอง พบว่าบ้านที่ติดตั้งปล่องผนัง SCCW มีอุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิของบ้านผนังคอนกรีตมวลเบาชั้นเดียว และการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลเวียนของปล่องผนัง SCCW ขึ้นกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังเข้าสู่บ้าน ทางด้านทิศใต้ลดลง และช่วยระบายอากาศภายในห้องให้มีการไหลเวียนของอากาศภายในบ้านดีขึ้น

Article Details

How to Cite
จันทวงษ์ ป., อึ่งกูล โ., ทรัพย์ถาวร ว., ไมตรีจิตร ช., & แสงอาทิตย์ ธ. (2014). การศึกษาปล่องผนังโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติ ที่ติดตั้งกับบ้านจำลองสภาวะอากาศแบบร้อนชื้นของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 1(1), 11–19. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/180963
บท
บทความวิจัย

References

[1] Khedari, J., et al, 2001, Thailand climatic zones. Journal of Renewable Energy, Vol. 25, pp.267-280.

[2] กานต์ สุขสงญาติ และคณะ. “การศึกษาเปรียบเทียบเชิงเศรษฐศาสตร์ระหว่างบ้านที่ใช้ผนังอิฐมอญกับผนังมวลเบาด้านการถ่ายเทความร้อนและคุณสมบัติทางความร้อน”, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 17, ฉบับที่ 2, พฤษภาคม – สิงหวาคม 2550. หน้าที่ 11-20.

[3] Zalewski, L., et al, 1997. Experimental thermal study of a solar wall of composite type. Journal of Energy and Building, Vol. 25, pp. 7-18.

[4] Jie, J., et al, 2007. PV – Trombe wall Design for Buildings in Composite Climates, Journal of Solar Energy Engineering, November 2007 Vol. 129, pp. 431- 437.

[5] Khedari, J., et al, 1998. The Modified Trombe wall: A simple ventilation means and an efficient insulating material. The International Journal of Ambient Energy, Vol. 19, No. 2, pp.104-110.

[6] ปรีดา จันทวงษ์ การศึกษาทดสอบสมรรถนะทางความร้อนของปล่องผนังคอนกรีตมวลเบาระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ภายใต้สภาวะอากาศแบบรร้อนชื้นของกรุงเทพมหานคร วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เล่มที่ 18 มกราคม– มิถุนายน 2552. หน้าที่ 1-14.

[7] ปรีดา จันทวงษ์ การศึกษาสมรรถนะทางความร้อนของปล่องผนังโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติภายใต้ภูมิอากาศแบบรรอนชื้นของกรุงเทพมหานคร วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

[8] ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2552. หน้าที่ 200-208.

[9] ปรีดา จันทวงษ์ การศึกษาปล่องผนังโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติร่วมกับพัดลมกระแสตรงภายใต้สภาวะอากาศของกรุงเทพมหานคร วิศวสารลาดกระบัง ฉบับที่ 26 เล่มที่ 3 กันยายน 2552 หน้าที่ 37-42.