การศึกษาจุดคุ้มทุนระบบปรับอากาศแบบปรับน้ำยาแปรผันของอาคารสำนักงาน

Main Article Content

Suthat Silaket

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาจุดคุ้มทุนของการใช้ระบบปรับอากาศแบบปรับน้ำยาแปรผันสำหรับอาคารสำนักงานตัวอย่าง โดยขอบเขตของงานวิจัยจะใช้หลักการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้ง การใช้พลังงานไฟฟ้า และค่าบำรุงรักษาของระบบปรับอากาศ เพื่อหาจุดคุ้มทุนด้วยวิธีต้นทุนวงจรอายุ (Life Cycle Cost : LCC) ในช่วงอายุโครงการตั้งแต่ 8 ปี จนถึง 15 ปี ผลการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนด้วยวิธีต้นทุนวงจรอายุของระบบปรับอากาศแบบปรับน้ำยาแปรผันที่ใช้กับอาคารสำนักงานตัวอย่าง พบว่าระบบปรับอากาศแบบปรับน้ำยาแปรผันมีค่าใช้จ่ายค่าเครื่องและค่าติดตั้งระบบอยู่ที่ 4,649,390 บาท มีการใช้พลังงานไฟฟ้า 278,334 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นค่าไฟฟ้า 822,973 บาทต่อปี และค่าบำรุงรักษา 68,150 บาทต่อปี โดยมีจุดคุ้มทุนที่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดอยู่ที่ 12 ปี ที่จะเหมาะสมต่อการเปลี่ยนระบบปรับอากาศใหม่

Article Details

How to Cite
Silaket, S. . (2021). การศึกษาจุดคุ้มทุนระบบปรับอากาศแบบปรับน้ำยาแปรผันของอาคารสำนักงาน. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 8(2), 79–90. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/245951
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน, 2560.

Mitsubishi Electric Corporation, Data book A5 R410A series of air conditioning system, Japan, 2019.

วินัย แก้วมณี, “การออกแบบระบบปรับอากาศแบบปรับน้ำยาแปรผัน”, บทความวิชาการ ชุดที่ 13 สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย, 2551, หน้า 78 – 88.

Mitsubishi Electric Corporation, Installation manual of air conditioners for building application inverter

Y-Series OUTDOOR UNIT, Thailand, 2019.

นภดล สายสวัสดิ์, การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ระบบปรับอากาศแบบส่วนกลางสำหรับการปรับอากาศในอาคาร 52 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2548.

AHRI Standard 1230, “Standard for Performance Rating of Variable Refrigerant Flow (VRF) Multi-Split Air-Conditioning and Heat Pump Equipment”, VA 22201, USA, 2010.

Daikin Corporation, (2020, Oct.12). Energy Saving of Inverter Air Condition and R32 Refrigerant DAIKIN VIETNAM 28th Aug, 2017, [online] Available: https://www.jica.go.jp/project/english/vietnam/036/activities/c8h0vm0000bqnnlf-att/e4e.pdf

Jankovic Alex, (2020, Oct. 9). Back to basics: VRF systems, [online] Available: https://www.csemag.com/articles/back-to-basics-vrf-systems/

ธนาวดี เกตุธนากานต์ และสุชาติ คำวงศ์ษา, การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้เครื่องปรับอากาศแยกส่วน, ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.

อธิยุติ จงใจ, การศึกษาทางเลือกเพื่อใช้เครื่องปรับอากาศของใหม่ และของเดิมโดยวิธีการคำนวณต้นทุนวงจร อายุ (Life Cycle Cost, LCC), สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอาคาร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2556.

เชษฐ์ ตั้งทรงจิตรากุล, ความคุ้มค่าทางการเงินของโครงการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศในอาคารที่พักอาศัย, สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีในอาคาร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2551

ไพบูลย์ แย้มเผื่อน, เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม, ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ, 2556