THE ENERGY STORAGE SYSTEM RESPONSE ON THE SOLAR-ROOF BUILDING CASESTUDY: FLUCTUATED SOLAR POWER
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศ รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้งานพลังงานหมุนเวียน อาทิ การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา เพื่อให้เกิดการร่วมมือกับภาคเอกชนในการร่วมผลิตพลังงานไฟฟ้าระดับหน่วยย่อย อย่างไรก็ตามพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับผลกระทบจากความไม่สม่ำเสมอของแสงอาทิตย์และส่งผลให้พลังงานที่ผลิตได้ไม่สม่ำเสมอด้วย ซึ่งปัญหานี้ถือเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพยากรณ์ ตลอดจนระบบติดตามด้านพลังงาน ก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาความผันผวนที่ส่งผลกระทบต่อสายส่งได้ดีนัก เนื่องจากเมื่อคำนึงถึงการติดตั้งที่มีการขยายผลในหลายหลังคาเรือน เมื่อมีเมฆมากจะส่งผลให้ระดับของกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ลดลงไปอย่างมาก ดังนั้นการแก้ไขปัญหาความผันผวนของพลังงานโดยการใช้ระบบสะสมพลังงานจึงมีความจำเป็น แต่ต้องประกอบด้วยระบบการติดตามค่าพลังงานที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ อย่างไรก็ตามความผันผวนของพลังงานแสงอาทิตย์รวมถึงสภาพอากาศฤดูฝนได้ส่งผลต่อระดับพลังงานที่สะสมอยู่ในแบตเตอรี่ทำให้ส่งผลต่อศักยภาพในการตอบสนองของระบบสะสมพลังงานเพื่อชดเชยการผันผวนของพลังงานดังกล่าว ในงานวิจัยนี้ได้มีการทดสอบระบบควบคุมแบบจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งได้แสดงผลการตอบสนองที่ดีต่อการบันทึกผลตามช่วงสถานการณ์ความผันผวนของพลังงานแสงอาทิตย์ ตลอดจนสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
ชัยวัฒน์ งามสมโสด, 2557, วิธีการลดขนาดพิกัดระบบเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่ใช้ร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Akatsuka,M., R. Hara, H. Kita, T. Ito, Y. Ueda, S. Miwa, N. Matsuno, K. Takitani and M. Saito, 2010, Suppression of Large-scaled PV Power Station Output Fluctuation using Sodium-Sulfur Battery. IEEJ Transaction on PE 130(2), pp. 223-231.
Sheikh, M.R.I., M.A. Motin, M.A. Hossain and M.Shahed. 2012. Reference Power Selection for Smoothing Wind Power Fluctuations with Reduced Energy Capacity. IEEE ICECE 2012, pp. 746-749.
Sadegh Shajari and Reza Key Pour, 2012, Reduction of Energy Storage System for Smoothing Hybrid wind-PV Power Fluctuation. IEEE EEEIC 2012, pp. 115-117.
Watanabe, R., Y.Ito, Y. Hida, R. Yokoyama, K. Iba and T. Tsukada., 2012. Optimal Capacity Selection of Hybrid Energy Storage Systems for Suppressing PV Output Fluctuation. IEEE PES ISGT ASIA 2012, pp. 1-5.
Alex Park and Petros Lappas, 2017. Evaluating demand charge reduction for commercial-scale solar PV coupled with battery storage. Renewable Energy 108, pp.523-532.
W.Srithiam, S.Asadamongkol, T.Sumranwanich, 2014. Application of Battery Energy Storage System in Coordination with MicroEMS for Mae Hong Son Microgrid during Islanding Mode. International Council on Large Electric Systems: AORC Technical meeting 2014.
F.A.T. Al-Saedi, 2013, Peak Shaving Energy Management System for Smart House, International Journal of Computer Science Engineering and Technology (IJCSET), Vol. 3, No. 10, pp. 359-366.