THE TEMPERATURE CONTROL FOR SOLAR DRYING ROOMS BY AUTOMATIC SYSTEM

Main Article Content

ปัญญา สำราญหันต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของห้องอบพลังงานแสงอาทิตย์ของวิสาหกิจชุมชนโสมจันทร์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนแรกเป็นรวบรวมข้อมูลความต้องการและศึกษาเงื่อนไขการอบกล้วยม้วน ขั้นตอนที่สองเป็นการออกแบบและติดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิภายในห้องอบพลังงานแสงอาทิตย์ และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการเปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุง โดยก่อนการปรับปรุงเพื่อให้ได้อุณหภูมิภายในห้องอบตามที่ต้องการ จะต้องมีการสะสมความร้อนจากแสงอาทิตย์อยู่ในช่วง 3 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย และในช่วงเวลาชั่วโมงที่ 7 อุณหภูมิจะมีการสะสมอย่างต่อเนื่องสูงถึง 75 องศาสเซลเซียสโดยเฉลี่ย และยังพบว่าตำแหน่งในการอบกล้วยม้วนทั้ง 4 ตำแหน่ง มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


            ผลของงานวิจัยพบว่า หลังจากเพิ่มระบบการตรวจวัดอุณหภูมิและเพิ่มระบบควบคุมการไหลของอากาศเพื่อควบคุมระดับอุณหภูมิภายในห้องอบแบบอัตโนมัติเข้าไปแล้ว ช่วยให้อุณหภูมิภายในห้องอบพลังงานแสงอาทิตย์ มีอุณหภูมิเฉลี่ยไม่เกิน 60 องศาสเซลเซียส และอุณหภูมิในตำแหน่งการอบกล้วยม้วนทั้ง 4 ตำแหน่ง มีอุณหภูมิที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
สำราญหันต์ ป. (2020). THE TEMPERATURE CONTROL FOR SOLAR DRYING ROOMS BY AUTOMATIC SYSTEM. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 7(1), 38–48. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/240743
บท
บทความวิจัย

References

อนิรุทธิ์ ต่ายขาว และสมบัติ ทีฆทรัพย์. 2556. เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดพาความร้อนแบบธรรมชาติและชนิดพาความร้อนแบบบังคับ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 7(1), 23-31.

บงกช ประสิทธิ์ และสหัฤยา ทองสาร. 2557. ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ร่วมเซลล์แสงอาทิตย์. การประชุมวิชาการสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นครปฐม. วันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2557.

คำนึง วาทโยธา. 2545. การอบกล้วยด้วยเครื่องอบจำลองรูปแบบการทำงานของเครื่องอบไมโครเวฟร่วมกับสายพานลำเลียง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 33(6), 11-15.

ธีระชัย ไชยศิริ บุญยงค์ วัฒนาโกศัย และวิโรจน์ โรจนวิสูตร. 2532. เครื่องอบแห้งกล้วยน้ำว้าพลังงานแสงอาทิตย์. ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัฐธิปัตย์ ปางวัชรากร และ เมธินี เห่วซึ่งเจริญ. 2545. การพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์. วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร. 33(6), 190-195.

จักรพรรณ์ ผิวสะอาด และชยพัทธ์ ภูสำเภา. 2559. การถ่ายเทความร้อนของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกสำหรับอบแห้งดีปลี. SNRU Journal of Science and Technology. 8(3), 365-378.

ถาวร อู่ทรัพย์ ณัฐพล ภูมิสะอาด และ เจริญพร เลิศสถิตธนกร. 2555. การอบแห้งเนื้อหมูแดดเดียวด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ชนิดที่มีวัสดุสะสมความร้อน. Solar Drying of Pork Using a Solar Tunnel Dryer with Thermal Storage, 32(4), 489-493.

ทวีศักดิ์ มหาวรรณ์ อัจณรา จันทร์ผง และนิลวรรณ ไชยทนุ. 2556. การพัฒนาตู้อบหญ้าหวานโดยใช้แหล่งความร้อนจากก๊าซหุงต้มและพลังงานแสงอาทิตย์. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย. ครั้งที่ 14 .

ธนกร หอมจำปา ทรงสุภา พุ่มชุมพล และอำไพศักดิ์ ทีบุญมา . 2555. เงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งปลานิลด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์. Solar Drying of Pork Using a Solar Tunnel Dryer with Thermal Storage, 32(4), 461-467.

ประพันธ์พงษ์ สมศิลา และอำไพศักดิ์ ทีบุญมา. 2556. อิทธิพลของอัตราส่วนสมมูลต่อประสิทธิภาพการไหลเวียน อากาศภายในเครื่องอบแห้งแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(2), 46-54.

เวียง อากรชี ศิวลักษณ์ ปฐวีรัตน์ วิบูลย์ เทเพนทร์ อนุชา เชาว์โชติ อุทัย ธานี และอัคคพล เสนาณรงค์. 2559. การศึกษาการใช้โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเครื่องอบลมร้อนแบบชั้นวางสำหรับอบแห้งผักและผลไม้. วารสาร สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 22(1), 39-45.

สุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล จุฑารัตน์ ทะสะระ เฉลิม ปานมา รัชนีกร นำชัย และยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล. 2554. ปัจจัยของเงื่อนไขการอบแห้งต่อจลนพลศาสตร์และคุณภาพของการอบแห้งขนุน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(3), 82-91.

สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี. 2560. การศึกษาสมรรถนะเครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเชื้อเพลิงชีวมวล. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), 1-10.