การศึกษารูปแบบการไหลและการกระจายอุณหภูมิอากาศในโรงเรือนเพาะปลูก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและปรับปรุงโรงเรือนให้มีการระบายความร้อนที่ดี โดยการคำนวณรูปแบบการไหลและการกระจายอุณหภูมิภายในโรงเรือนที่มีรูปร่างหลังคาแตกต่างกัน 5 แบบ คือ หลังคาทรงสี่เหลี่ยม หลังคาทรงโค้ง หลังคาทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว หลังคาทรงโค้งต่างระดับ และหลังคาทรงสามเหลี่ยมต่างระดับ โรงเรือนแต่ละแบบจะมีช่องเปิดขนาด 0.5 เมตร 3 ลักษณะด้วยกันคือ ช่องเปิดด้านบน ช่องเปิดด้านข้าง และแบบผสม อัตราการถ่ายเทความร้อนจากพื้นของโรงเรือนที่ใช้ในงานวิจัยมีค่า 30-100 W/m2 การคำนวณความเร็วและอุณหภูมิภายในโรงเรือนใช้วิธีคำนวณพลศาสตร์ของไหลแบบ 2 มิติ ผลที่ได้จากการคำนวณ พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยภายในโรงเรือนและอัตราการระบายอากาศ ขึ้นอยู่กับอัตราการถ่ายเทความร้อน โรงเรือนที่มีช่องเปิดแบบผสมจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยภายในโรงเรือนต่ำกว่า โรงเรือนที่มีช่องเปิดด้านข้างและด้านบนเพียงอย่างเดียว โรงเรือนที่มีลักษณะหลังคาสี่เหลี่ยม ทรงโค้ง และสามเหลี่ยมหน้าจั่วจะมีอัตราการระบายอากาศที่ดีกว่าหลังคาทรงโค้งต่างระดับ และสามเหลี่ยมต่างระดับ
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2] Wang, S., Boulard, T., and Haxaire, R., 1999, “Air Speed Profiles in A Naturally Ventilated Greenhouse with A Tomato Crop”, Agricultural and Forest Meteorology, Vol.96, pp.181-188.
[3] Perez, P.J., Baeza, E., Montero, J.I., and Bailey, B.J., 2004, “Natural Ventilation of Parral Greenhouses”, Biosystems Engineering, Vol.87, No.3, pp.355-366.
[4] Sase, S., Reiss, E., Both, A.J., and Roberts, W.J., 2002, Developing a Natural Ventilation Model for Open-Roof Greenhouse, Center for Controlled Environment Agriculture, pp. 1-9.
[5] Sbita, L., Boulard, T., and Mermier, M., 1999, “Natural Ventilation Performance of A Greenhouse Tunnel in South Tunisia”, Agricultural Engineering, Vol.76, pp.109-118.
[6] Kakac, S., and Yener, Y., 1995, Convective Heat Transfer, Second Edition, Boca Raton Ann Arbor, London, pp.23-46.
[7] ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์, 2531, อนุกรมพลังงานออกแบบและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เล่มที่ 1 การแผ่รังสีและตัวรับรังสี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ, หน้า 1-25.
[8] จงจิตร์ หิรัญลาภ, 2541, กระบวนการพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปความร้อน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ, หน้า 1-26.
[9] Duffie, J.A.and Beckman,W.A., 1991, “Solar Engineering of Thermal Processes”, John Wiley & Sons, New York, pp. 1-146.
[10] Holman, J.P, 2001, “Heat Transfer”, McGraw-Hill, New York, pp. 225-231.