โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติกลุ่มตลาดรายย่อย ผู้ใช้ระบบสูบน้ำบาดาลด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พิศิษฐ์ ชำนาญนา
คัทลียา ฤกษ์พิไชย
ทิพย์สุดา หมื่นหาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อศึกษาองค์ประกอบของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติกลุ่มผู้ใช้งานตลาดรายย่อย ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 2 เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติกลุ่มผู้ใช้งานตลาดรายย่อย ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 3 เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติกลุ่มผู้ใช้งานตลาดรายย่อย ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับเกษตรกรรายย่อยผู้ใช้ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 150 คน โดยการสุ่มแบบสโนว์บอล (Snowball Sampling) เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการแนะนำของ เกษตรกรรายย่อยผู้ใช้ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ ไปต่อๆกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม (ประมาณค่า 5 ระดับ Rating scale) มี 3 ตอน 1) ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติกลุ่มผู้ใช้งานตลาดรายย่อย ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย  ตัวแปรแฝงภายใน คือ ทัศนคติ ของเกษตรกร ประกอบด้วย พลังงานแสงอาทิตย์เป็นการลงทุนที่ปลอดภัย ความเชื่อถือในประสิทธิภาพ การรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างความเป็นอิสระด้านพลังงาน โดยแบ่งออกเป็นตัวแปรแฝงภายนอก 1 ตัวแปร ได้แก่ การส่งเสริมของภาครัฐ และตัวแปรแฝงภายในจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ ด้านอุปทาน  ด้านเทคโนโลยี ด้านการประชาสัมพันธ์  ด้านความรู้ความเข้าใจ 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติกลุ่มผู้ใช้งานตลาดรายย่อย ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกทุกค่าในการวิเคราะห์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ gif.latex?\chi2=47.65, df=77, p-value =0.078,
gif.latex?\chi2/df=.619 , QFI=.98, AGFI=.99, RMSEA=.00 , SRMR = .012, NFI=.98, NNFI=1.00, CFI=1.00 and RFI.97 หมายความว่า โมเดลมีความตรงเชิงโครงสร้าง มีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติ.01 3) ผลการศึกษาอิทธิพลทางตรงอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติกลุ่มผู้ใช้งานตลาดรายย่อย ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก พบว่าตัวแปรทุกตัวมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม

Article Details

How to Cite
ชำนาญนา พ., ฤกษ์พิไชย ค., & หมื่นหาญ ท. (2019). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติกลุ่มตลาดรายย่อย ผู้ใช้ระบบสูบน้ำบาดาลด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 6(1), 43–53. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/197967
บท
บทความวิจัย

References

[1] Assosolare ener & power naturally :2018 สืบค้นออนไลน์https://www.assosolare.org/ สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2561

[2] Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

[3] สุริยพันธุ์ สิงหนนิยม และภูมิพร ธรรมสถิตเดช (2556) พฤติกรรมการยอมรับการใช้เทคโนโลยีพลังงาน แสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลแสงอาทิตย์ภายใต้แบบจําลองทฤษฎีการยอมรับและการใช้ เทคโนโลยี วิศวสารลาดกระบัง ปีที่ : 27 ฉบับที่ : 4 เลขหน้า : 25-30 ปีพ.ศ. : 2556

[4] กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550.