อิทธิพลของกรรมวิธีอบชุบที่มีผลต่อการเปลี่ยนเฟสมาร์เทนไซต์และสมบัติทางกลของเหล็กกล้า AISI 1045 และโลหะผสมจำรูปนิกเกิล - ไทเทนียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของกรรมวิธีอบชุบที่มีผลต่อการเปลี่ยนเฟสมาร์เทนไซต์และสมบัติทางกลของเหล็กกล้า AISI 1045 และโลหะผสมจำรูปนิกเกิล-ไทเทเนียม โดยตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีเหล็กกล้า AISI 1045 ด้วยเครื่องสเปคโตรและตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีโลหะผสมจำรูปนิกเกิล-ไทเทเนียม ด้วยเครื่อง SEM-EDS จากนั้นผ่านกระบวนการอบชุบที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 60 นาที แล้วปล่อยให้เย็นตัวในอัตราที่ต่างกันดังนี้ คือ เย็นตัวในน้ำมันและเย็นตัวในน้ำ จากนั้นตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคด้วยการกัดกรดส่องกล้องจุลทรรศน์และทดสอบสมบัติทางกลด้วยเครื่องทดสอบความแข็ง จากการวิเคราะห์ พบว่า เฟสมาร์เทรไซต์ ในเหล็กกล้า AISI 1045 มีโครงสร้างเป็น BCT แต่มาร์เทนไซต์ในโลหะผสมจำรูปนิกเกิล-ไทเทเนียม มีโครงสร้างเป็น Monoclinic โดยขนาดเกรนของเหล็กกล้า AISI 1045 ที่เย็นตัวในน้ำมันมีขนาดใหญ่และขนาดเกรน ที่เย็นตัวในน้ำมีขนาดเล็ก ซึ่งโครงสร้างจุลภาคที่แตกต่างกันมีผลต่อความแข็งโดยตรงสำหรับขนาดเกรนของโลหะผสมจำรูปนิกเกิล-ไทเทเนียม ที่เย็นตัวในน้ำมันมีขนาดใหญ่และขนาดเกรน ที่เย็นตัวในน้ำมีขนาดลดลงเล็กน้อย ซึ่งโครงสร้างจุลภาคไม่แตกต่างกัน จึงส่งผลต่อความแข็งน้อยมาก
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2] Chitty, J.A.; Pertuz, A.; Hintermann, H.; Puchi, E.S. (1999), “Influence of electroless nickel-phosphorus deposits on corrosion-fatigue life of notched and un-notched samples of an AISI 1045 steel” Journal of Materials Engineering and Performance,Vol. 8, pp. 83-86.
[3] Totten, G.E. (2007), Steel Heat Treatment Handbook-Equipment and Process Design, 2nd Ed., Taylor and Francis
[4] แม้น อมรสิทธิ์, สมชยั อคัรทวิา และ ธรรมนูญ อุดมแมน้ (2551), วสัดุวศิวกรรม, สา นกัพมิพท์อ้ป
[5] Otsuka K, Wayman CM. (1998), Shape memory materials, Cambridge University
[6] ASTM Designation: E 407-99, pp.1-21.
[7] Phukaoluan A., Khantachawana A., Kaewtatip P., Dechkunakorn S., Anuwongnukroh N., Santiwong P. and Kajornchaiyakul J (2011), “Property improvement of TiNi by Cu addition for Orthodontics Applications”, Applied Mechanics and Materials, Vol.87, pp.95-100.
[8] AZoM (2012), AISI 1045 Medium CarbonSteel,AZOMATERIALS,URL:http://www.azom.com/article. aspx?ArticleID=6130, access on 15/05/2017