การเพิ่มกำลังการผลิตในการดำเนินการรับเข้าและส่งออกของคลังสินค้าเครื่องดื่มด้วยวิธีการปรับปรุงการดำเนินการขนถ่าย : กรณีศึกษาบริษัทกระจายสินค้าเครื่องดื่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันธุรกิจเกี่ยวกับด้านการขนส่งได้เติบโต และขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งในกระบวนการจัดการคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนด้านขนส่ง และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตอบสนองลูกค้า ทั้งในเรื่องของเวลาในการดำเนินการ คุณภาพ และมาตรฐานในการส่งมอบสินค้าตามความต้องการ จึงต้องพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการงานในคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า ทั้งในด้านการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานด้านขนส่ง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาบริษัทขนส่งเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง ที่มีการเติบโตของธุรกิจโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มในอนาคตที่จะโตเพิ่มขึ้นอีก 200% ในปี 2563 และจากการศึกษาเบื้องต้นโดยใช้ทฤษฎีผังงาน (Flow chart) เทคนิคแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต (Flow Process chart) และหลักการเครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด (7 QC Tool) พบว่าปัญหาในขั้นตอนของการรับเข้า (Inbound) และโหลดสินค้าส่งออก (Outbound) ของคลังสินค้า ซึ่งมีปริมาณสินค้าที่รับเข้าและส่งออกมากกว่ากำลังการผลิตถึง 22% ทางผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในการดำเนินการรับเข้าส่งออกของคลังสินค้าเครื่องดื่มนี้ให้สูงขึ้น ด้วยวิธีการปรับปรุงการดำเนินการขนถ่าย โดยปประยุกต์ทฤษฎีการขนถ่ายวัสดุมาใช้ในการแก้ปัญหา หลังจากการดำเนินการแก้ไขพบว่า สามารถโหลดสินค้าทั้งรับเข้าและส่งออก ได้เพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมเฉลี่ยประมาณ 12 คันต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 15 คันต่อชั่วโมง คิดเป็น 25% จากเดิม
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
(2) เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย (2554).การปรับปรุงกระบวนการทำงาน, เอกสารประกอบการบรรยาย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(3) วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล (2544). The QC Story and 7 QC Tools, กรุงเทพ: บีพีอาร์ แอนด์ทีคิวเอ็มคอนซัลแทนท์
(4) กัญจนา เบ็ญจศิริวรรณ (2551). การศึกษาวิธีการทำงานและการปรับปรุงโลจิสติกส์ภาคการผลิตชิ้นผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการโซ่อุปทานแบบบูรณาการ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
(5) กรกฎ ใยบัวเทศ ทิพยาวงศ์ (2558). Materials Handing and Storage Equipment. (ระบบออนไลน์), แหล่งที่มา http://ie.eng.cmu.ac.th/2015_01/164/Chapter%2004_%20Mat%20 Handling%20n%20storage%20equipment.pdf, เข้ามาดูเมื่อวันที่ 2/11/2559