การวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำลำภาชี
Main Article Content
บทคัดย่อ
พื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางของระบบนิเวศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการควบคุมและคุ้มครองโดยรัฐ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการและการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้เกิดความยั่งยืน วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำลำภาชี โดยใช้ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน คือ แผนที่ขอบเขตลุ่มน้ำและแผนที่ความลาดชันซึ่งสร้างจากแบบจำลองความสูงเชิงเลข แผนที่ขอบเขตออุทยานแห่งชาติ แผนที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายดินที่คำนวณด้วยแบบจำลอง RUSLE จากนั้นนำชั้นข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์หาพื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการซ้อนทับข้อมูลในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำลำพาชีพบว่า มีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A คิดเป็นร้อยละ 34.05 อยู่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ความลาดชันเฉลี่ย 23.22 เปอร์เซนต์ โดยพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซนต์ คิดเป็นร้อยละ 25.53 อยู่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ พื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายดินพบว่ามีพื้นที่มีเสี่ยงน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 97.93 การใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่า มีพื้นที่ป่าผลัดใบ คิดเป็นร้อยละ 50.37 พื้นที่พืชไร่ ร้อยละ 21.47 พื้นที่ส่วนป่าร้อยละ 9.31 ผลการศึกษาจากการซ้อนทับข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เป็นพื้นที่อ่อนไหวมาก ปานกลาง น้อย คิดเป็นร้อยละ 43.35 27.10 และ 29.55 ของพื้นที่ลุ่มน้ำตามลำดับ เมื่อนำพื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมมาศึกษาร่วมกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่าพื้นที่อ่อนไหวมากยังคงเป็นพื้นที่ป่าไม้ตามธรรมชาติ
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2]. ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ และสถิพรรณ จันทรัตน์. (2550). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาตร์เพื่อจัดทำสารสนเทศพื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย. ปีที่8, ฉบับที่2, (พฤษภาคม-สิงหาคม): 28-35.
[3]. A. Gad and I. Lotfy. (2008). Use of Remote Sensing and GIS in mapping the environmental sensitivity areas for desertification of Egyptian territory. The 2nd International Conf. on Water Resources & Arid Environment. eEarth Discussions. Volume 3 (2). pp. 41-85
[4]. อุทยานแห่งชาติและ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า. (2552). ความหลากหลายทางชีวภาพ, [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://chm-thai.onep.go.th/chm/protected/protected_thai.htm, เข้าถึงเมื่อ 19 พฤษภาคม. 2558
[5]. สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). พื้นที่คุ้มครองในประเทศไทย. [ระบบออนไลน์], http://chm-thai.onep.go.th/chm/protected/protected_thai.htm, เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม. 2558
[6]. ASTER Global Digital Elevation Model (GDEM). (2015). Features of ASTER GDEM.
URL: http://www.jspacesystems.or.jp/ersdac/GDEM/E/2.html. Accessed March 2 2015.
[7]. กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ. [ระบบออนไลน์], http://www.onep.go.th/nrem/index.php/nrem-operation/policy/wsc- project, เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2558.
[8]. สุเพชร จิรขจรกุล. (2552). เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1. นนทบุรี: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์. หน้าที่ 47.
[9]. หิรัญปกรณ์ ปลื้มมะลัง. (2555). การประเมินการชะล้างพังทลายดินด้วยแบบจ้าลอง RUSLE ร่วมกับภูมิสารสนเทศ. รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2556
[10]. Soo Huey The. (2011). SOIL EROSION MODELLING RUSLE AND GIS ON CAMERON HIGHLANDS, MALAYSIA FOR HYDROPOWER DEVELOPMENT. Master Thesis of The School of Renewable Energy Science in affliation with University of Iceland & University of Akureyri. Pp. 15-22
[11]. ไพฑูรย์ คดีธรรมและคณะ. (2542). แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาลำภาชี. กรมพัฒนาที่ดิน.