แนวทางการจัดเส้นทางเดินรถขนส่งสินค้าด้วยวิธีฮิวรีสติกส์ กรณีศึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์หลวงพระบาง จำกัด

Main Article Content

กันละคร เพชรลาที
รองศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ กองสุวรรณ
ดร. เชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาของการจัดเส้นทางการเดินรถของบริษัท ปูนซีเมนต์หลวงพระบาง จำกัด 2) เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถของบริษัท ปูนซีเมนต์หลวงพระบาง จำกัด โดยทำการประชากร ประกอบด้วย ผู้จัดการ หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ และร้านค้า รวมทั้งหมด 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi - Structured Review) ในการจัดเส้นทางการเดินรถ การวางแผนจัดเส้นทางด้วยวิธีการกวาด (Sweep Approach) และ การสนทนากลุ่ม (Focus Group)


ผลการวิจัยสรุปดังนี้ สภาพ และปัญหาการวางแผนจัดเส้นทางเดินรถของ บริษัท ปูนซีเมนต์หลวงพระบาง จำกัด สภาพปัญหา พบว่า 1) การวางแผนจัดเส้นทางเดินรถยังอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ 2) การจัดเส้นทางยังไม่มีการกำหนดปริมาณความต้องการของลูกค้าไว้ล่วงหน้า 3) การวางแผนจัดเส้นทางยังไม่มีการจัด หรือแบ่งกลุ่มลูกค้า
ในตารางขนส่งสินค้าประจำวัน 4) การวางแผนจัดเส้นทางยังไม่มีการคัดเลือกลูกค้าจากระยะทางที่ใกล้คลังสินค้า 5) การวางแผนจัดเส้นทางยังไม่มีการกำหนดวัน และเวลารับส่งสินค้าที่แน่นอน 6) การวางแผนการจัดเส้นทางยังไม่มีการกำหนดปริมาณน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการดำเนินงานขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากการวางแผนจัดเส้นทางที่ยังไม่มีความแน่นอน และชัดเจน จากแนวทางการวางแผนจัดเส้นทางเดินรถขนส่งสินค้าด้วยวิธีฮิวริสติก
ด้วยวิธีการกวาด (Sweep Approach) ประกอบด้วย 1) ควรกำหนดความต้องการสั่งซื้อลูกค้าเป็นการล่วงหน้า 2) ควรกำหนดการจัดส่งสินค้าโดยใช้ค่าเฉลี่ย 3) ควรกำหนดคำสั่งซื้อของลูกค้าลงในตารางขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ 4) ควรกำหนดไม่ให้แทรกความต้องการลูกค้าเข้ามาระหว่างการวางแผนจัดเส้นทางขนส่ง 5) ควรกำหนดวันเวลา รับส่งสินค้า
ที่แน่นอนชัดเจน 6) ควรคัดเลือกลูกค้าจากระยะทางที่ใกล้คลังสินค้ามากที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นในการส่งของการจัดส่งสินค้าในแต่ละกลุ่มเส้นทาง รวมทั้งแปลงค่าความต้องการสินค้าเป็นปริมาณน้ำหนัก และบรรทุกสินค้าแบบเต็มคันตามน้ำหนัก
ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการดำเนินการวางแผนแก้ปัญหาการกำหนดเส้นทางการขนส่งสินค้า ปูนซิเมนต์ หลวงพระบาง จำกัด โดยวิธีการกวาด ทำให้การขนส่งสินค้าใช้ยานพาหนะ 13 คัน ในการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่มีระยะทางเท่ากับ2,704.8 กิโลเมตร และสามารถจัดส่งสินค้าได้ภายในวันเดียวตามที่ลูกค้าต้องการ

Article Details

How to Cite
เพชรลาที ก., กองสุวรรณ ร. ด. ศ., & ลีลาศรีสิริ ด. เ. (2016). แนวทางการจัดเส้นทางเดินรถขนส่งสินค้าด้วยวิธีฮิวรีสติกส์ กรณีศึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์หลวงพระบาง จำกัด. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 3(2), 23–32. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/179560
บท
บทความวิจัย

References

[1]. จักษ์ จันทรประทิน, 2550, การพัฒนาระบบการจัดการคลังสินค้า โดยใช้วิธีปฏิบัติการแบบประสานปรองดองธุรกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[2]. ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์, 2550, การจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

[3]. มหานครอาเซียน, 2556, อาเซียนประเทศลาว, Access on January 11, 2016 from: http://www.uasean.com/kerobow01/51.

[4]. ปูนซีเมนต์หลวงพระบาง, 2558, ข้อมูลการจัดส่งสินค้าประจำวัน. แขวงหลวงพระบาง อัดสำเนา: ฝ่ายขนส่ง.

[5]. ปูนซีเมนต์หลวงพระบาง, 2558, ข้อมูลพนักงาน และรายชื่อลูกค้า. แขวงหลวงพระบาง อัดสำเนา: บัญชี.

[6]. อรวสา กอบเกียรติถวิล, 2556, วิธีฮิวริสติกส์การแทรกสำหรับปัญหาจัดเส้นทางสินค้าคงคลังภายใต้เงื่อนไขกรอบเวลา ข้อจำกัดเวลาการทำงาน และปริมาณการขนส่งผันแปร. ปริญญาวิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

[7]. พิพัฒชัย ชอบงาม, 2554, วิธีฮิวริสติกส์ สำหรับปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะที่มีสินค้าหลายชนิด กรณีศึกษา โรงงานน้ำดื่ม น้ำแข็ง ลานทอง ปริญญาวิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

[8]. พิมพ์ชนก ทำนอง, 2552, การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าจากจุดส่งเดียว กรณีเปรียบเทียบวิธีการแบบฮิวริสติกส์และวิธีการเชิงพันธุกรรม ปริญญาวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[9]. ไพริน เปลี่ยนไพร, 2554, วิธีฮิวริสติกส์สำหรับการจัดเส้นทางเดินรถเพื่อส่งสินค้าหลายจุดที่มีเงื่อนไขกรอบเวลาและข้อจำกัดเวลาการทำงาน. ปริญญาวิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

[10]. พงศกร เชมนะศิริ, 2556, การปรับปรุงประสิทธิภาพในการก่อสร้างเพื่อประยุกต์การวิเคราะห์ปัญหาการจัดเส้นทางสำหรับยานพาหนะโดยวิธีเมต้าฮิวริสติกส์. ปริญญาวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.