แนวทางการจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าด้วยวิธีฮิวริสติกส์ ของโรงงานน้ำดื่ม มินิโร ในแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการจัดเส้นทางการเดินรถด้วยวิธีฮิวริสติกส์ ของโรงงานน้ำดื่ม มินีโร ในแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาของการจัดเส้นทางการเดินรถของโรงงานน้ำดื่ม มินีโร แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถของโรงงานน้ำดื่ม มินีโร แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงานขับรถ พนักงานปฏิบัติงานทั่วไป และ ลูกค้าของโรงงานน้ำดื่ม มินีโร รวมทั้งหมด 59 คน ซึ่งเป็นการศึกษาทั้งประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured) การวางแผนการจัดเส้นทางด้วยวิธีเพื่อนบ้านใกล้เคียง (Nearest Neighbor) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยสรุป สภาพปัญหาของการจัดเส้นทางการเดินรถของโรงงานน้ำดื่ม มินีโร ในแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ปัญหาที่พบในการจัดเส้นทาง ได้แก่ 1) ปัญหาการกำหนดปริมาณความต้องการลูกค้าล่วงหน้า 2) ปัญหาการกำหนดจำนวนความต้องการในปริมาณที่แน่นอน โดยใช้เกณฑ์ต่ำสุด/ สูงสุด/ หรือปริมาณเฉลี่ย 3) ปัญหาการกำหนดจัดลูกค้าในตารางการเดินรถ 4) ปัญหาการเพิ่มปริมาณความต้องการแทรกเข้ามาระหว่างจัดเส้นทาง 5) ปัญหาการกำหนดวัน และเวลา ที่รับส่งสินค้าที่ชัดเจน 6) ปัญหาการวางแผนการคัดเลือกลูกค้าโดยระยะทางที่ใกล้คลังสินค้าที่สุด 7) ปัญหาการแปลงค่าความต้องการของลูกค้าเป็นปริมาณน้ำหนักของสินค้า 8) ปัญหาการใช้เครื่องมือ หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาใช้ในการวางแผนการจัดเส้นทางเดินรถ 9) ปัญหาการบรรทุกสินค้าเกินปริมาณน้ำหนักตามกฎหมายกำหนด และบรรทุกสินค้าแบบไม่เต็มคัน 10) ปัญหาลักษณะทางกายภาพเส้นทางคมนาคมขนส่งยังไม่ได้รับการพัฒนา
แนวทางการจัดเส้นทางการเดินรถด้วยวิธี ฮิวริสติก รูปแบบ เพื่อนบ้านใกล้เคียง (Nearest Neighbor) สามารถช่วยให้การวางแผนการจัดเส้นทางรถเดินมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และได้แนวทางพัฒนาการวางแผนจัดเส้นทาง เช่น 1) ทำการกำหนดความต้องการสั่งซื้อของลูกค้าที่ล่วงหน้า 2) ทำการกำหนดปริมาณความต้องการสินค้าโดยใช้ค่าเฉลี่ย
3) ทำการกำหนดปริมาณสินค้าของลูกค้าลงในตารางขนส่งสินค้าให้ชัดเจน 4) ทำการกำหนดไม่ให้แทรกความต้องการของลูกค้าเข้ามาระหว่างการจัดเส้นทาง 5) ทำการกำหนดวันเวลาจัดส่งที่ชัดเจน คัดเลือกลูกค้าโดยใช้ระยะทางที่ใกล้ที่สุด ไม่ควรบรรทุกเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งพยายามให้บรรทุกแบบเต็มคัน (Full Truck Load : FTL) และพยายามนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งจากการวางแผน และคัดเลือกลูกค้าตามรูปแบบเพื่อนบ้านใกล้เคียง (Nearest Neighbor) ทำให้การวางแผนการจัดเส้นทางเดินรถมีระยะทางโดยรวมเท่ากับ 115.92 กิโลเมตร ซึ่งมีระยะทางสั้นกว่าเดิม 47.60 กิโลเมตร จากระยะทางเดิม 163.52 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 70.89 ส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดส่งลดลงเนื่องจากระยะทางรวมสั้นลง
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2]. มินีโร, 2558, ประวัติ และข้อมูลโรงงานน้ำดื่ม มินีโร. แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อัดสำเนา: ฝ่ายบัญชี.
[3]. มินีโร, 2558, ข้อมูลการจัดส่งสินค้ารายวันโรงงานนำดื่ม มินีโร. แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อัดสำเนา: ฝ่ายขนส่ง.
[4]. ไชยา โฉมเฉลา, 2553, การจัดเส้นทางรถขนส่งน้ำดื่มด้วยวิธีฮิวริสติก กรณีศึกษาโรงงานน้ำดื่ม เรนโบว์. ปริญญาวิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
[5]. ไพริน เปลี่ยนไพร, 2554, วิธีฮิวริสติกส์สำหรับการจัดเส้นทางเดินรถเพื่อส่งสินค้าหลายจุดที่มีเงื่อนไขกรอบเวลาและข้อจำกัดเวลาการทำงาน. ปริญญาวิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[6]. พิพัฒชัย ชอบงาม, 2554, วิธีฮิวริสติกส์ สำหรับปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะที่มีสินค้าหลายชนิด กรณีศึกษา โรงงานน้ำดื่ม น้ำแข็ง ลานทอง. ปริญญาวิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
[7]. พิมพ์ชนก ทำนอง, 2552, การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าจากจุดส่งเดียว กรณีเปรียบเทียบวิธีการแบบฮิวริสติกส์และวิธีการเชิงพันธุกรรม. ปริญญาวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[8]. พงศกร เชมนะศิริ, 2556, การปรับปรุงประสิทธิภาพในการก่อสร้างเพื่อประยุกต์การวิเคราะห์ปัญหาการจัดเส้นทางสำหรับยานพาหนะโดยวิธีเมต้าฮิวริสติกส์. ปริญญาวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[9]. อรวสา กอบเกียรติถวิล, 2556, วิธีฮิวริสติกส์การแทรกสำหรับปัญหาจัดเส้นทาง สินค้าคงคลังภายใต้เงื่อนไขกรอบเวลาข้อจำกัดเวลาการทำงานและปริมาณการขนส่งผันแปร. ปริญญาวิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[10]. มณิสรา บารมีชัย และบุศรินทร์ ศรีสตรียานนท์, 2552, ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า, [ออนไลน์], Available: http://logisticscorner.com/index.php? option=com_content&view=article&id=1237:2009-10-11-01-55-33&catid=36:transportation&Itemid=90, [Retrieved January 11, 2016].
[11]. กฤษฎาวรรณ วรรณปกะ, 2552, 5 กลยุทธ์ในการลดต้นทุนการขนส่ง. [ออนไลน์], Available: http://logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1378:5-&catid=36:transportation&Itemid=90, [Retrieved December 15, 2015].