ระบบควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำหรับการประจุไฟฟ้าแบบด่วนให้กับรถยนต์ไฟฟ้าในระดับครัวเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประจุไฟฟ้าแบบด่วนเป็นเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองต่อรถยนต์ไฟฟ้าและความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน เพียงแต่บ้านพักอาศัยในปัจจุบันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการจ่ายกำลังไฟฟ้าได้สูงเพียงพอ การใช้ระบบสะสมพลังงานจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจตัวเลือกหนึ่งซึ่งเป็นการช่วยปรับปรุงที่พักอาศัยเดิมให้มีความสามารถรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลสำหรับภาคครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนลดภาระของสายส่ง งานวิจัยนี้ได้นำเสนอระบบสะสมพลังงานสำหรับอาคารตลอดจนระบบควบคุมเพื่อสนับสนุนการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำหรับการประจุไฟฟ้าแบบด่วนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในระดับครัวเรือน โดยใช้ระบบควบคุมเชิงตรรกศาสตร์เพื่อให้มีการทำงานของระบบสะสมพลังงาน โดยระบบควบคุมจะสั่งให้ระบบสะสมพลังงานมีการคายประจุเพื่อลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่สูงขึ้นจากการประจุไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดการดึงพลังงานไฟฟ้าจากกริด เมื่อพิจารณาทางด้านของความสามารถในการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน โดยเปรียบเทียบค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าแบบ TOU ของระบบเมื่อไม่ได้ติดตั้งระบบสะสมพลังงาน และเมื่อทำการติดตั้งระบบสะสมพลังงาน พบว่าการติดตั้งระบบสะสมพลังงานนอกจากจะช่วยให้ไม่เกิดความเสียหายให้กับระบบไฟฟ้าภายในบ้านเมื่อมีความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงเนื่องจากการประจุไฟฟ้าแบบด่วนแล้ว ยังสามารถลดค่าพลังงานไฟฟ้าต่อการประจุไฟฟ้าให้รถยนต์ไฟฟ้าได้ถึง 71% และเมื่อมีการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อกำหนดแผนการประจุไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้าล่วงหน้า จะลดค่าพลังงานไฟฟ้าต่อการประจุไฟฟ้าให้รถยนต์ไฟฟ้าลงได้อย่างน้อย 16% และ 71% เมื่อมีกำหนดการล่วงหน้าอย่างน้อย 5 ชั่วโมง และ 10 ชั่วโมง ตามลำดับ
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2] D. Sbordonea, et. al., 2015, EV fast charging stations and energy storage technologies: A real implementation in the smart micro grid paradigm, Electric Power Systems Research, Vol. 120, pp. 96-108.
[3] Tiong Meng Chung and Hamdan Daniyal , "ARDUINO BASED POWER METER USING INSTANTANEOUS POWER CALCULATION METHOD" , ARPN Journal of Engineering and Applied Sciences, VOL. 10 , NO. 21, NOVEMBER 2015.
[4] F.A.T. Al-Saedi, 2013, Peak Shaving Energy Management System for Smart House, International Journal of Computer Science Engineering and Technology (IJCSET), Vol. 3, No. 10, pp. 359-366.
[5] Battery University, 2559, Fast and Ultra-fast Chargers, (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://batteryuniversity.com/learn/article/ultra_fast_chargers. 2 กันยายน 2560
[6] European Commission Joint Research Centre in cooperation with frontier Economics, 2009, Electricity storage in the power sector.
[7] S.M. Schoenung and W.V. Hassenzahl, 2003, SANDIA national laboratory: Long- vs. Short-Term Energy storage Technologies Analysis - A Life-Cycle Study, A study for the DoE Energy storage Systems Programme, Report reference: SAND2003-2783.
[8] L. Beurskens, 2003, Analysis in the Framework of the Investire network - Economic performance of storage technologies, ECN-C--03-132.
[9] I. Yuko, et. al., 2012, Development of Battery and Charger Integration System (BCIS), Special Issue on Smart Energy Solution, NEC Technical Journal, Vol. 7, No.1/2012.
[10] J. Eyer and G. Corey, 2010, SANDIA national laboratory: Energy Storage for the Electricity Grid - Benefits and Market Potential Assessment Guide A Study for the DOE Energy Storage Systems Program, Report reference: SAND2010-0815.