อิทธิพลของอุณหภูมิการอบแห้งต่อการลดลงของความชื้นในว่านหางจระเข้ที่อบแห้งด้วยเทคนิครังสีอินฟราเรดไกลร่วมกับอากาศร้อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งและการใช้พลังงานไฟฟ้าในการอบแห้งว่านหางจระเข้โดยใช้เทคนิครังสีอินฟราเรดไกลร่วมกับอากาศร้อน โดยมีเงื่อนไขในการทดลองมีดังนี้ ว่านหางจระเข้สายพันธุ์
Aloe Barbadensis Mill. ที่มีความชื้นเริ่มต้น 98 % w.b. ทำการอบแห้งที่อุณหภูมิ 50, 60 และ 70 ๐C ที่ความเร็วลม
0.6 m/s จนกระทั่งเหลือความชื้นสุดท้าย 5 % w.b. จากผลทดลองพบว่า การใช้อุณหภูมิอบแห้งสูงขึ้นจะสามารถลดความชื้นของว่านหางจระเข้และระยะเวลาในการอบแห้ง โดยเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดของการอบแห้งว่านหางจระเข้ด้วยเทคนิครังสีอินฟราเรดไกลร่วมกับอากาศร้อน คือที่อุณหภูมิการอบแห้ง 70 ๐C จากความชื้นเริ่มต้นที่ 98 % w.b. จนเหลือความชื้นสุดท้ายที่ 5 % w.b. ใช้ระยะเวลาในการอบแห้งที่ 170 min ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ 1.12 kWh และความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ (SEC) 45.891 MJ/kgwater
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2] AOAC, Official Methods of Analysis, 15th edition, Association of Official Analytical Chemists, Washington, DC, 1990.
[3] T. Swasdisevi, W. Sriariyakula, W. Tia, and S. Soponronnarit,. “Effect of pre-steaming on production of partially-parboiled rice using hot-air fluidization technique”, Journal of Food Engineering, vol. 96, 2010, pp. 455 – 462.
[4] สมชาติ โสภณรณฤทธิ์. การอบแห้งเมล็ดพืชและอาหารบางประเภท, กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2540.
[5] W. Sriariyakul, T. Swasdisevi, S. Devahastin, and S. Soponronnarit, “Drying of aloe vera puree using hot air in combination with far-infrared radiation and high-voltage electric field: Drying kinetics, energy consumption and product quality evaluation”, Food and Bioproducts Processing, vol. 100, 2016, pp. 391 – 400.