กระเป๋าสะพายเก็บเกี่ยวพลังงานเพื่อใช้ในงานด้านความมั่นคง ภัยพิบัติและพื้นที่ห่างไกล

Main Article Content

ฐกฤต ปานขลิบ
จุไรรัตน์ ดวงเดือน
ชูกฤต องคานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาต้นแบบกระเป๋าสะพายเก็บเกี่ยวพลังงานเพื่อความมั่นคง ภัยพิบัติ และพื้นที่ห่างไกล ในตัวกระเป๋าสะพายประกอบด้วยอุปกรณ์หลักห้าส่วน ได้แก่ ระบบสะสมพลังงาน ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS) ระบบเก็บเกี่ยวพลังงาน ระบบควบคุมการเก็บเกี่ยวพลังงาน และระบบกันกระสุน (สำหรับส่วนของงานเพื่อความมั่นคง) โดยในส่วนของระบบเก็บเกี่ยวพลังงานสามารถแยกออกเป็นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 10W ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลัก และระบบเก็บเดี่ยวพลังงานจากการเคลื่อนไหวขนาด 200 mW ซึ่งเป็นส่วนเสริมในสถานการณ์ที่ไม่มีแสงสว่างหรืออยู่ในพื้นที่ปิด แต่จะเก็บเกี่ยวพลังงานจากการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ตัวกระเป๋าสะพายได้ออกแบบโดยอาศัยหลักการทางการยศาสตร์ให้มีการถ่ายเทน้ำหนักลงแผ่นหลังเพื่อลดอาการเมื่อยล้า นอกจากนี้ระบบเก็บเกี่ยวพลังงานและระบบสะสมพลังงานจะช่วยให้ผู้ใช้งานลดขนาดของแบตเตอรี่สำรองที่จะใช้ในภารกิจได้ และในขณะเดียวกันระหว่างการเดินเพื่อสำรวจหรือลาดตระเวน วัสดุเพียโซอิเล็กทริคจะทำหน้าที่เก็บเกี่ยวพลังงานจากการเคลื่อนไหว ทั้งนี้การเคลื่อนไหวอาจให้พลังงานที่ไม่เสถียรงานจิวัยนี้จึงเลือกใช้ตัวเก็บประจุซึ่งเป็นระบบสะสมพลังงานที่สามารถเก็บพลังงานได้อย่างรวดเร็วเพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางพลังงานของระบบ ทั้งนี้เมื่อมีการใช้งานเฉพาะวิทยุสื่อสารอย่างต่อเนื่องด้วยกำลังส่ง 2 W  สามารถใช้งานได้ 26 ชม. 6 นาที และเมื่อใช้งานวิทยุสื่อสารเพื่อรับข่าวสาร สามารถใช้งานได้ 52 ชม. 18 นาที

Article Details

How to Cite
ปานขลิบ ฐ., ดวงเดือน จ., & องคานนท์ ช. (2018). กระเป๋าสะพายเก็บเกี่ยวพลังงานเพื่อใช้ในงานด้านความมั่นคง ภัยพิบัติและพื้นที่ห่างไกล. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 5(2), 27–34. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/178579
บท
บทความวิจัย

References

[1] Rome, Lawrence C. (Strafford, PA, US), 2006, Backpack for harvesting electrical energy during walking and for minimizing shoulder strain, United States, Lightning Packs, LLC (Strafford, PA, US) 6982497.

[2] Rome, Lawrence (Strafford, PA, US), 2008, Backpack for harvesting electrical energy during walking and for minimizing shoulder strain, United States, Lightning Packs LLC (Strafford, PA, US) 7391123.

[3] Cavagna, G.A. and Franzetti, P., 1986. The determinants of the step frequency in walking in humans. The Journal of physiology, 373(1), pp.235-242.

[4] Cavagna, G., Mantovani, M., Willems, P. et al., 1997, The resonant step frequency in human running, Pflügers Arch, Volume 434, Issue 6, pp 678–684.

[5] G De Pasquale, A Somà, F Fraccarollo., 2013, Comparison Between Piezoelectric and Magnetic Strategies For Wearable Energy Harvesting, Journal of Physics: Conference Series, Vol. 476., 012097.