การออกแบบขั้นตอนวิธีตัวแปลร้อยกรองไทย เป็นภาษาอังกฤษแบบคงฉันทลักษณ์

Main Article Content

สัจจาภรณ์ ไวจรรยา
อนิราช มิ่งขวัญ

Abstract

การสร้างเครื่องแปลร้อยกรองจากภาษาต้นฉบับไปเป็น อีกภาษาหนึ่งมีความแตกต่างจากการสร้างเครื่องแปลภาษาทั่วๆไป เนื่องจากร้อยกรองเป็นงานเขียนที่มีฉันทลักษณ์ ร้อยกรองไทยกำหนดจำนวนพยางค์ สัมผัสระหว่างบท สัมผัสระหว่างวรรค ซึ่งเนื้อความในวรรคอาจไม่ครบถ้วนตาม วากยสัมพันธ์ การใช้เครื่องมือแปลภาษาทั่วไปเพื่อแปลร้อย กรองไทยไปเป็นภาษาอังกฤษ ไม่สามารถแปลงาน ร้อยกรอง ให้คงฉันทลักษณ์และความหมายเดิมได้ ต้องปรับแต่งเครื่อง มือแปลภาษา งานวิจัยนี้จึงนำเสนอการออกแบบขั้นตอนวิธี ตัวแปลร้อยกรองไทยเป็นภาษาอังกฤษแบบคงฉันทลักษณ์ โดยใช้ร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ ดอกสร้อย และ สักวา และออกแบบการวัดผลตัวแปลร้อยกรองโดยวัดเปอร์เซ็นต์ ความถูกต้อง เพื่อให้เกิดการต่อยอดการสร้างเครื่องมือแปล ร้อยกรองไทยที่หลากหลาย ทั้งยังส่งเสริมการเผยแพร่วรรณศิลป์ไทยให้เป็นที่สนใจในระดับสากลมากยิ่งขึ้น


Designing of an Algorithm for Thai to English Poem Translator with Prosody Keeping

Sajjaporn Waijanya and Anirach Mingkhwan

The poem translation from original language to another is very different from general machine translator because the poem is written with prosody. Thai poem is composed with set of syllables which to be rhyme with stanza and line and the text in paragraph of poem may not be complete syntax. Thus, general machine translator absolutely cannot translate Thai poem to English poem which prosody keeping and meaning are still the same. This research presents designing of an algorithm for Thai poem to English poem translator with prosody keeping to translate 3 poem types are Klon Supaap, Doksoi and Sakkawa to English. Measurement de­signs in this research are the accuracy percentage defined with prosody. Therefore, this research will be the new innovation of the machine translator for poem, and encourage Thai art created language to the global as well. 

Article Details

Section
บทความวิจัย