สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วิทชย เพชรเลียบ 5 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • วลัญช์ชยา เขตบำรุง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จิราภรณ์ ประธรรมโย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จุน หน่อแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สุทธิกร สุวรรณไตรย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน, พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน, พนักงานเก็บขยะ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

          วิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเก็บขยะสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 203 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์ (Chi-Square)

          ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 98.50 อายุุเฉลี่ย 44.57 ปี (S.D. = 10.46) มีประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 8.21 ปี (S.D. = 6.50) หน่วยงานมีนโยบายด้านความปลอดภัยในการทำงาน ร้อยละ 84.23 มีการอบรมด้านความปลอดภัย ร้อยละ 75.86 มีความรู้ด้านความปลอดภัยระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 10.92 (S.D. = 1.74) มีทัศนคติด้านความปลอดภัยระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.31 (S.D. = 0.36) สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานส่วนใหญ่ คือ ปัจจัยด้านเคมี ได้แก่ การสัมผัสฝุ่น ร้อยละ 93.60 และกลิ่นเหม็นขยะ ร้อยละ 93.10 ปัจจัยด้านการยศาสตร์ ได้แก่ การทำงานด้วยท่าทางซ้ำ ๆ ร้อยละ 93.10 และการยกหรือย้ายของหนัก ร้อยละ 91.63 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.33 (S.D. = 0.24) และพบว่า ปัจจัยด้านนโยบายความปลอดภัยในการทำงาน (X2= 5.203, p = 0.023) และการอบรมความปลอดภัย (X2= 5.860, p = 0.015) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญของความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามสุขภาพ และหน่วยงานควรมีนโยบาย การอบรมความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้พนักงานเก็บขยะมีพฤติกรรมความปลอดภัยที่ดีขึ้น

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2566). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2566.

สืบค้น 17 มกราคม 2567, จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2024/05/pcdnew-2024-05-09_07-53-50_682275.pdf

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564.

สืบค้น 10 ธันวาคม 2565, จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2022/08/pcdnew-2022-08-26_08-13-23_314008.pdf

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 สาระน่ารู้ สำหรับประชาชน.

สืบค้น 8 มีนาคม 2566, จาก https://env.anamai.moph.go.th/ web-upload/11xc410600758f76a9b 83604e779b2d1de5/filecenter/ 19.pdf

ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร, พัฒนพงษ์ ปั้นเหน่งเพ็ชร์ และนพรัตน์ ศรีเครือแก้ว. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายของคนงานเก็บขยะในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(3),

-14.

นพรัตน์ เที่ยงคำดี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นริศรา เลิศพรสวรรค์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2560). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ. พยาบาลสาร, 44(2), 138-150.

ปางชล ธรรมโชติ และฤดีีรัตน์ มหาบุญปีติ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันสิ่งคุกคามทางสุขภาพจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะในจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่ง ประเทศไทย, 5(3), 28-37.

พีรพงษ์ จันทราเทพ และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2554). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 49-58.

ลัดดาวรรณ์ ดอกแก้ว, ประมุข โอศิริ, เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์, สมพร กันทร, ดุษฏี เตรียมชัยศรี, ดุสิต สุจิรารัตน์ และนพกร จงวิศาล. (2559). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดในกลุ่มพนักงานเก็บขนขยะของกรุงเทพมหานคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม, 18(3), 18-29.

วิราภรณ์ ทองยัง. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

โศรญา ปรักมานนท์. (2559). ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง. (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต). ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.

สมจิรา อุสาหะวงค์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานจัดเก็บขยะในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

สิทธิชัย ใจขาน และวราภรณ์ พันธ์ศิริ. (2562). พฤติกรรมและความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขนมูลฝอย กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(1), 50-59.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พีระพงษ์ จันทราเทพ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. (2555). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารเทคนิคการแพทย์และ

กายภาพบำบัด, 24(1), 97-109.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2550). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. (2565). รายชื่อ อปท. จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้น 19 กันยายน 2565, จากhttps://koratdla.go.th/public/list/data/detail/id/44665/menu/1682/page/1

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Krejcie, R. V., and Morgan, D .W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30: 607-610.

National Institute of Occupational Safety and Health. (2007). NIOSH pocket guide to chemical hazards. Retrieved 16 September 2022, from: https://www.cdc.gov/niosh/docs/2005-149/pdfs/2005-149.pdf

Ncube, F., Ncube, E. J., Voyi, K. (2017). Bioaerosols, noise, and ultraviolet radiation exposures for municipal solid waste handlers. International Journal of Environmental Research and Public Health, 25(3), 1-8.

Schantora, A. L., Casjens, S., Deckert, A., Van, V., Neumann, H. D., Brüning, T. (2015). Prevalence of work-related rhino-conjunctivitis and respiratory symptoms among domestic waste collectors. Advances in Experimental Medicine

and Biology, 13(4), 53-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

เพชรเลียบ ว., เขตบำรุง ว. ., ประธรรมโย จ. ., หน่อแก้ว จ., & สุวรรณไตรย์ ส. (2024). สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 37(2), 30–45. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/258630

ฉบับ

บท

บทความวิจัย