การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบุตำแหน่งการเกิดความผิดพร่องในระบบจำหน่ายแรงสูง

Mobile Application Development for Locating Identification of High Voltage Distribution Line Fault

ผู้แต่ง

  • ชมพู ทรัพย์ปทุมสิน สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศุภกฤษ ธนเอกพงษ์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา
  • สุรีพร มีหอม สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

กระแสลัดวงจร, สายส่งไฟฟ้าแรงสูง, แอปพลิเคชันสำหรับระบุตำแหน่งการเกิดความผิดพร่อง

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับระบุตำแหน่งการเกิดฟอลต์ในสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

         วิธีการวิจัย: ทำการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อระบุตำแหน่งฟอลต์ในสายส่งแรงสูง 22 kV กรณีศึกษาสถานีไฟฟ้าด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ช่วงหมู่บ้านพันชนะ ต.พันชนะ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา จนถึงหมู่บ้านห้วยยายจิ๋ว ต.ห้วยยายจิ๋ว อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ประมาณ 37 กิโลเมตร โดยระบบที่พัฒนาได้ทำการหาค่าตำแหน่งของการเกิดการลัดวงจรจากการคำนวณหาค่าอิมพิแดนซ์ที่ได้จากค่ากระแสและแรงดันขณะที่เกิดการลัดวงจรและนำข้อมูลที่ได้คำนวณไว้ใส่ในฐานข้อมูลของแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น โดยเมื่อเกิดการลัดวงจร นำข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ recloser ซึ่งระบุประเภทของการเกิดการลัดวงจรและกระแสลัดวงจรที่เกิดขึ้นป้อนลงในแอปพลิเคชัน แล้วแอปพลิเคชันจะทำการตรวจสอบข้อมูล เปรียบเทียบฐานข้อมูล แล้วแสดงผลเป็นพิกัดจุดละติจูด และลองติจูด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ไปตรวจสอบที่ตำแหน่งที่แสดงผลได้หาตำแหน่งกระแสลัดวงจรผ่านแอปพลิเคชันในอุปกรณ์เคลื่อนที่

          ผลการวิจัย: ผลการทดสอบระบบพบว่า แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำมาใช้งานได้จริง มีค่าความผิดพลาดเฉลี่ยรวมประมาณร้อยละ 2.19

References

โบนัส ทรงวิจิตร์ และฉัตรชัย ศุภพิทักษ์สกุล (2556). การระบุตำแหน่งความผิดพร่องในระบบ 115 kV ของสถานีไฟฟ้าลำลูกกาในรูปแบบพิกัดทางภูมิศาสตร์. EECON 36, 129-132.

ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์ (2545). การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง. บริษัทซีเอ็ดบุ๊คเซนเตอร์.

เอกภพ ดวงจันทร์ และฉัตรชัย ศุภพิทักษ์สกุล (2558). การระบุตำแหน่งความผิดพร่องในระบบ 22 kV ในรูปแบบพิกัดทางภูมิศาสตร์. การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 8, 35-38.

Agbesi, I., & Okai, F. A. (2016). Automatic Fault Detection and Location in Power Transmission Lines using GSM Technology. International Journal of Advance Research in Science and Engineering, 5(1), 193-207.

Chisom, N., Chibuisi, I., Ihekweaba, O., & Clement, I. (2014). Using GSM to Detect Fault in Microcontroller Based Power Transformer. International Journal for Research in Applied Science and Engineering Technology, 2(8), 271-274.

Herraiz, S., Melendez, J., Ribugent, G., Sanchez, J. & Castro, M. (2007). Application for Fault Location in Electrical Power Distribution Systems. 9th International Conference. Electrical Power Quality and Utilisation. Barcelona.

Hung, Q., Zhen, W. and Pong, P. (2012). A Novel Approach for Fault Location of Overhead Transmission Line with Noncontact Magnetic-Field Measurement. IEEE Transactions on power delivery, 27(3), 1180 – 1195.

Shekar, P. (2014). Transmission Line Fault Detection & Indication through GSM. International Journal of Recent Advances in Engineering & Technology, 2(5), 28-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20

How to Cite

ทรัพย์ปทุมสิน ช., ธนเอกพงษ์ ศ., & มีหอม ส. (2023). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบุตำแหน่งการเกิดความผิดพร่องในระบบจำหน่ายแรงสูง: Mobile Application Development for Locating Identification of High Voltage Distribution Line Fault. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 36(2), 103–118. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/254502

ฉบับ

บท

บทความวิจัย