การปรับปรุงผิวทางแอสฟัลท์นำกลับมาใช้ใหม่ผสมหินคลุกด้วยซีเมนต์
คำสำคัญ:
ผิวทางแอสฟัลท์นำกลับมาใช้ใหม่, การปรับปรุงคุณสมบัติด้วยซีเมนต์, กำลังรับแรงอัดแบบไม่จำกัดขอบเขต, การทดสอบซีบีอาร์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการใช้ซีเมนต์ปรับปรุงผิวทางแอสฟัลท์นำกลับมาใช้ใหม่ผสมหินคลุกโดยไม่มีการคัดทิ้งวัสดุ เพื่อเป็นแนวทางการลดขั้นตอนการเตรียมวัสดุในการก่อสร้างทาง
วิธีการวิจัย : ผลศึกษาที่ผ่านมาไม่สามารถนำอัตราส่วนมาใช้ได้เพราะวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่มีการคัดวัสดุส่วนละเอียดทิ้งบางส่วน การศึกษาครั้งนี้จึงต้องปรับอัตราส่วนใหม่ตามมาตรฐานการกระจายขนาด แล้วนำไปใช้เตรียมตัวอย่างทดสอบกำลังรับแรงอัดแบบไม่จำกัดขอบเขตและซีบีอาร์เพื่อหาปริมาณซีเมนต์ที่พอเหมาะ โดยการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐานและใช้ปริมาณน้ำที่ความหนาแน่นแห้งสูงสุด โดยเติมซีเมนต์ร้อยละ 3, 5, 7, และ 9 ทดสอบที่ระยะเวลาการบ่ม 3, 7, 14, และ 28 วัน
ผลการวิจัย : การใช้อัตราส่วนวัสดุผสม 1 ต่อ 3 ทำให้ขนาดคละเป็นไปตามมาตรฐานและนำไปใช้เตรียมตัวอย่างทดสอบกำลังโดยใช้น้ำร้อยละ 6.7 ที่ให้ค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุด 2.4 ก./ลบ.ซม. ตัวอย่างที่ไม่ได้เติมซีเมนต์มีค่ากำลังรับแรงอัดเฉลี่ย 9.23 กก./ตร.ซม. และมีการพัฒนากำลังเพิ่มขึ้นตามปริมาณซีเมนต์ โดยอัตราการพัฒนากำลังในช่วง 3-7 วันจะสูงกว่าหลัง 14 วัน เมื่อพิจารณาที่อายุบ่ม 7 วันพบว่ากำลังรับแรงอัดมีค่าเฉลี่ย 17.63 และ 25.00 กก./ตร.ซม.สำหรับปริมาณซีเมนต์ร้อยละ 3.0 และ 7.5 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานกรมทางหลวงชนบทและกรมทางหลวงกำหนดไว้ 17.5 และ 24.5 กก./ตร.ซม. และที่ปริมาณซีเมนต์ร้อยละ 3 ค่าซีบีอาร์เท่ากับร้อยละ 82.37 สูงกว่าที่มาตรฐานกำหนดไว้ร้อยละ 80 ดังนั้นการนำผิวทางแอสฟัลท์คอนกรีตกลับมาใช้ใหม่โดยไม่คัดทิ้งวัสดุผสมกับหินคลุกควรใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 3 และเติมซีเมนต์ร้อยละ 3 และ 7.5 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานวัสดุพื้นทางของกรมทางหลวงชนบทและกรมทางหลวงตามลำดับ
References
กรมทางหลวง. (2565, 18 กุมภาพันธ์). มาตรฐานงานทาง (ทล.-ม.) : ทล.-ม.203/2556, ทล.-ม.
/2564, ทล.-ม.410/2542. http://www.doh.go.th/content/page/page/5623
กรมทางหลวงชนบท. (2557). มาตรฐานวัสดุพื้นทาง : มทช.203-2557. https://research.drr.go.th/wp-content/uploads/2020/03/203-2557.pdf
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2557). มาตรฐานงานชั้นพื้นทาง : มยผ. 2117-57. http://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/sd_work/std2100.pdf
ชลัท ทิพากรเกียรติ. (2562). คุณสมบัติของวัสดุผิวทางที่นำกลับมาใช้ใหม่ในการออกแบบพาราสเรอลี่ซีล. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 9(2), 183-200.
พงษ์พัฒน์ วังโน. (2560). การปรับปรุงคุณภาพผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตรีไซเคิลด้วยกากแคลเซียมคาร์ไบด์และเถ้าลอย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. http://sutir.sut.ac.th: 8080/sutir/bitstream/123456789/7977/2/Fulltext.pdf
สราวุธ จริตงาม, โอภาส สมใจนึก และพิษณุ ช่วยเวท. (2565, 24-26 สิงหาคม). การใช้แอสฟัลท์คอตกรีตเก่า ผสมกับหินคลุกและซีเมนต์ในงานก่อสร้างถนน. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27: เรื่องวิศวกรรมโยธาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน (INF04-1-5). เชียงราย: มหาวิทยาลัยพะเยา. https://conference.thaince.org/ index.php/ncce27/article/view/1711
อัคคพัฒน์ สว่างสุรีย์, ธีรภัทร์ ศิริรัตนฉัตร และ จิรโรจน์ ศุกลรัตน์. (2561). การศึกษาประเมินสมการทำนายค่ากำลังรับแรงอัดของวัสดุสร้างทางผสมซีเมนต์.
วิศวกรรมสาร มก. 31(103), 65-76. https://ph01.tci-thaijo.org/index. php/kuengj/article/view/145469/ 107447
อาทิตย์ อินทรา. (2556). อิทธิพลปริมาณผิวทางแอสฟัลต์ติกคอนกรีตที่นำกลับมาใช้ใหม่ต่อกำลังอัดของวัสดุชั้นพื้นทางที่ปรับปรุงด้วยปูนซีเมนต์. [วิทยานิพนธ์
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitst ream/123456789/4767/2/Fulltext.pdf
Al-Qadi, I. L., Elseifi, M., & Carpenter, S. H. (2007). Reclaimed asphalt pavement – A literature review. Illinois Center for Transportation, Research Report FHWA-ICT-07-001. https://www.ideals.illinois.edu/ items/46016
Federal Highway Administration. (1997). Reclaimed Asphalt Pavement-User Guidelines for Waste and Byproduct Materials in Pavement Construction. (Research Report FHWA-RD-97-148). Washington, DC: U.S.
Plati, C., Tsakoumaki, M., & Gkyrtis, K. (2023). Physical and Mechanical Properties of Reclaimed Asphalt Pavement (RAP) Incorporated into Unbound Pavement Layers. Applied Science, 13(1), 362. https://doi.org/10.3390/app13010362
Ullah, S., Tanyu, B. F., & Hoppe, E. J. (2018). Optimizing the Gradation of Fine Processed Reclaimed Asphalt Pavement and Aggregate Blends for Unbound Base Courses. Transportation Research Record: Journal of the Transportation Research Board, 2672(52), 57-66. https://doi.org/10.1177/0361198118758683
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.