การประเมินหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ของมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ปีการศึกษา 2565
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยเรื่องการประเมินหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ปีการศึกษา 2565
วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ (Quantitative and Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้รวมทั้งสิ้นจำนวน 51 คน ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร 5 คน อาจารย์พิเศษ และอาจารย์ภาควิชาอื่น 8 คน นักศึกษาปัจจุบัน 27 คน และผู้คาดว่าจะใช้บัณฑิต 11 คน รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 51 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยมีค่าความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบถามอาจารย์สำหรับประจำหลักสูตรเท่ากับ 0.963 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์พิเศษ และอาจารย์ภาควิชาอื่น ๆ เท่ากับ 0.967 นักศึกษาเท่ากับ 0.953 และสำหรับผู้คาดว่าจะใช้บัณฑิตเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย: พบว่าความคิดเห็นด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต สำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน อาจารย์พิเศษ อาจารย์ภาควิชาอื่น ๆ นักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิตมีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). กฎกระทรวงว่าด้วยมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 20 ก วันที่ 31 มีนาคม 2565 (น. 28-31). สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.mhesi.go.th/images/2565/T_1390028.PDF
จิราวรรณ กล่อมเมฆ, จันทนา หล่อตจะกูล, เพชรรัตน์ เอี่ยมลออ, และเจตนา วงษาสูง. (2564). การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 3(1), 16-31.
มารุต พัฒผล. (2562). การวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
รัตนศิริ เข็มราช, ประพาศน์ พฤทธิประภา, ดารณี ภุมวรรณ, และจันทร์พนิต สุระศิลป์. (2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาโลก. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(3), 204-217.
วรรณประภา เอี่ยมฤทธิ์, อัครา ธรรมมาสถิตกุล, ปรียานุช วรวิกโฆษิต, ศรีหทัย เวลล์, และสมฤทัย ธีรเรืองสิริ. (2563). การประเมินหลักสูตรสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา : แนวทางการพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ. อินฟอร์เมชั่น Information, 27(2), 121-140.
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล, และปิยะพงษ์ ไสยโสภณ. (2561). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1). 3668-3680.
The Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level. (2020). Bangkok: ASEAN University Network.
Shamsa, A., Munazza, M., & Zahra, R. (2018). Implementation of CIPP model for quality evaluation at school level: A case study. Journal of Education and Educational Development, 5(1), 189-206.
Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP model for evaluation. In T. Kellaghan, & D. L. Stufflebeam (Eds.), the international handbook of educational evaluation (pp. 31–62). Dordrecht, Holland: Kluwer.
Stufflebeam, D. L., & Coryn, C. L. S. (2014). Evaluation: Theory, models and applications (2nd eds.).
San Francisco: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.