การพัฒนากำแพงป้องกันเสียงรบกวนจากการจราจรด้วยขยะรีไซเคิลผสมมอร์ตาร์
คำสำคัญ:
กำแพงป้องกันเสียงรบกวนจากการจราจร, ขยะรีไซเคิล, กำแพงมอร์ตาร์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงและความสามารถในการรับแรงอัด แรงดัด และแรงดึงแยก ของแผ่นกำแพงป้องกันเสียงรบกวนจากการจราจร ด้วยขยะรีไซเคิลผสมมอร์ตาร์
วิธีการวิจัย: แผ่นกำแพงป้องกันเสียงรบกวนจากการจราจรด้วยขยะรีไซเคิลมีขนาดความกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และหนา 15 เซนติเมตร โดยขยะรีไซเคิลที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้แก่ กล่องโฟมใส่อาหารและแผงไข่กระดาษ ซึ่งทำการผสมวัสดุกันเสียงจากขยะรีไซเคิลทีละชนิด ที่สัดส่วนผสมคือ ร้อยละ 0, 10, 25 และ 50 โดยน้ำหนัก และใช้ปูนกาวซีเมนต์สำเร็จรูป ในอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่ 0.7 เป็นสารเชื่อมประสาน
ผลการวิจัย: พบว่าเมื่อขยะรีไซเคิลที่ผสมในแผ่นกำแพงป้องกันเสียงมีปริมาณสูงขึ้น จะทำให้แผ่นกำแพงป้องกันเสียงมีประสิทธิภาพการป้องกันเสียงสูงขึ้นตามไปด้วย และแผ่นกำแพงป้องกันเสียงที่ผสมขยะรีไซเคิลชนิดกล่องโฟมใส่อาหารมีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงสูงกว่าชนิดแผงไข่กระดาษ นอกจากนี้แผ่นกำแพงป้องกันเสียงที่ผสมขยะรีไซเคิลชนิดกล่องโฟมใส่อาหารที่สัดส่วนร้อยละ 50 มีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงสูงกว่าแผ่นกำแพงมอร์ตาร์ที่ไม่ผสมขยะรีไซเคิล และผลการศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการรับแรงพบว่า แผ่นกำแพงป้องกันเสียงที่ผสมวัสดุรีไซเคิลชนิดกล่องโฟมใส่อาหารที่สัดส่วนร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก จะมีกำลังรับแรงอัดต่ำสุด แรงดัดต่ำสุด และแรงดึงแยกต่ำสุด เท่ากับ 27.267 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร 11.410 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร และ 2.526 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ตามลำดับ โดยค่ากำลังรับแรงที่กล่าวมาทั้งหมดของแผ่นกำแพงป้องกันเสียงรบกวนจากการจราจร ด้วยขยะรีไซเคิลผสมมอร์ตาร์จะมีค่ามากกว่าค่ากำหนดในมาตรฐานของกรมทางหลวง แต่ต้องมีการเสริมเหล็กรับแรงดัดและแรงดึงในกำแพงป้องกันเสียงด้วย เพื่อป้องกันกรณีอุบัติเหตุที่ทำให้แผ่นแตกและร่วงหล่น อาจก่อให้เกิดความเสียหายและอันตรายกับผู้ใช้ทางได้
References
กรมทางหลวง. (2558). STANDARD DRAWING FOR HIGHWAY DESIGN AND CONSTRUCTION. กระทรวงคมนาคม.
กรมควบคุมมลพิษ. (2558). คู่มือการตรวจวัดระดับเสียงของรถยนต์. ส่วนมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรุงเทพมหานคร. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
เกษม จันทร์แก้ว. (2541). เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม. โครงการสหวิทยาการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธรรมธร ไกรก่อกิจ. (2562). ค่า STC คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565, จากเว็บไซต์: https://www.zen- acoustic.com/what-is-stc.html
บุรฉัตร วิริยะ. (2544). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับเสียงของวัสดุพืชแห้งและเส้นใยแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
บุรฉัตร วิริยะ. (2551). การศึกษาและพัฒนาวัสดุป้องกันเสียงที่ผลิตจากของเสียอุตสาหกรรมที่มีสารบิทูเมนเป็นองค์ประกอบเพื่อลดระดับเสียงรบกวนจากการจราจร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ประธาน อารีพล. (2541). การจัดการมลพิษทางเสียง และความสั่นสะเทือน. อ้างถึงใน พวงแก้ว กิจกรรม และคณะ, 2538 ปราณี ชวลิตกุลชัย และคณะ, 2527. นนทบุรี: บริษัท เอ็นไวร์ คอนเซ็ป จำกัด.
พิพัฒน์ ละอองศรี. (2556). การประเมินประสิทธิภาพของกำแพงกั้นเสียงตามแนวทางหลวงพิเศษ หมายเลข 9 ตามสภาพปัจจุบัน. โครงงานปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วิโรจน์ เชาว์จิพันธุ์. (2537). การศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ลดเสียงในเครื่องจักรนิวแมติคโดยใช้วัสดุป้องกันเสียงที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศักดิ์ชัย อมรศักดิ์ชัย. (2541). การศึกษาประสิทธิภาพในการลดเสียงของวัสดุเหลือใช้ เมื่อใช้ซีเมนต์เป็นสารเชื่อมประสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยมหิดล.
American Institute of Physics and Acoustical Society of America. (1997). Standard Test Method for Measurement of Airborne Sound Insulation in Buildings. ASTM E336-97. USA.
American Society for Testing and Materials. (1998). Annual Book of ASTM Standards: Sound Absorption and Sound Absorption Coefficients by the Reverberation Room Method: C423-90a. Volume 4.06. New York: Clearance Center.
American Society for Testing and Materials. (1998). Annual Book of ASTM Standards. Laboratory Measurement of Airborne Sound Transmission Loss of Building Partitions and Elements: E90-97. Volume 4.02. New York: Clearance Center.
American Society for Testing and Materials. (2011). Annual Book of ASTM Standards. ASTM C78 Standard test method for flexural strength of concrete (using simple beam with third-point loading). Volume 4.02. West Conshohocken, PA, USA: ASTM International.
American Society for Testing and Materials. (2017). Annual Book of ASTM Standards. ASTM C496 Test method for splitting tensile strength of cylindrical concrete specimens. West Conshohocken, PA, USA: ASTM International.
American Society for Testing and Materials. (2018). Annual Book of ASTM Standards. ASTM C39 Test method for compressive strength of cylindrical concrete specimens. West Conshohocken, PA, USA: ASTM International.
Cowan, J. P. (1994). Handbook of Environmental Acoustics. Van Nostrand Reinhold: International Thomson Publishing Company.
Harmelink, M. D. (1970). Noise and Vibration Control for Transportation System. D.H.O. Report No. RR 168, Canada: Ontario Department of Highways.
Lewis, H. Bell and Douglas, H. Bell. (1994). Industrial Noise Control. 2nd ed. New York. Marcel Dekker, Inc.
Thumann, A. and Miller, RM. (1986). Fundamental of noise control engineering. Georgia: Fairmont Press.
Welch, B. L. (1970). Physiological Effects of Noise. New York-London: Plenum Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.